หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
:: การปฐมพยาบาลฯ
:: มหันตภัยจากสารเสพติด
:: การป้องกันภัยจากสารเสพติด
:: ตัวอย่างข้อสอบ

คำแนะนำ >> เลือกเรื่องย่อยของหน่วยการเรียนรู้เมนูด้านซ้าย


หน่วยการเรียรู้ที่ื ๔
ความปลอดภัยในชีวิต

การป้องกันภัยจากสารเสพติด

สารเสพติดเป็นสารมหัตภัยร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสร้างปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งต่อผู้เสพเองและผู้อื่น  การร่วมมือร่วมใจกันป้องกันการติดสารเสพติด และชักชวนให้ผู้อื่น ลด ละ เลิกสารเสพติด โดยใช้ทักษะต่างๆ ทั้งทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะกรสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการปฏิเสธ ทักษะการให้กำลังใจ ฯลฯ ก็จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาสารเสพติดให้พ้นไปจากสังคมไทยได้
1. การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด
          การป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสารเสพติด ควรมีการดำเนินงานซึ่งต้องได้รับความร่วมมือกันอย่างจริงจังจากทุกฝ่าย  เพื่อให้ปัญหาเกี่ยวกับสารเสพติดลดลง  นับเป็นการสร้างสังคมที่สงบสุขและปลอดภัย  ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยบทบาทสำคัญจากทุกฝ่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหา  ดังนี้
1.1 บทบาทของตนเอง
นับเป็นบทบาทสำคัญ ที่จะสามารถช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดได้ดี โดยเยาวชนแต่ละคนควรปฏิบัติ ดังนี้
1.) ศึกษาความรู้เกี่ยวกับโทษ และพิษภัยของสารเสพติด นับเป็นเกราะป้องกันตัว
ที่ดีที่จะช่วยให้พ้นจากสารเสพติดได้
2.) มีความภาคภูมิใจในตนเอง โดยรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่าไม่ควรทำลายชีวิตที่ได้มา
ด้วยการติดสารเสพติด
3.) รู้สึกในบทบาทหน้าที่ของตน โดยพึงระลึกอยู่เสมอว่าขณะนี้ตนเองมีบทบาท
หน้าที่อะไร เช่น มีหน้าที่เรียนหนังสือ ก็ควรจะตั้งใจศึกษาเรียนให้ดี เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ เป็นต้น
4.) ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส รักษาสุขภาพอนามัยอยู่เสมอ  หากบุคคลมี
สุขภาพจิตที่ไม่ดี ร่างกายไม่แข็งแรง อาจนำไปสู่การใช้สารเสพติดเนื่องจากอาจต้องใช้ยาในการรักษาเป็นประจำ
5.) คบเพื่อนดี โดยรู้จักเลือกคบเพื่อน และนำแบบอย่างที่ดีของเพื่อนมา
ประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเอง ซึ่งถ้าหากคบเพื่อนไม่ดี เพื่อนอาจชักชวนเราไปในทางที่เสื่อมเสีย
6.) ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในการสร้างเสริมคุณค่าให้กับตนเอง โดยการทำ
กิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย เล่นดนตรี อ่านหนังสือ เป็นต้น
7.) มีทักษะในการดำเนินชีวิต รู้จักแก้ไขปัญหาในทางที่ถูกที่ควร กล้าเผชิญปัญหา
รู้จักคิดไตร่ตรองด้วยเหตุผล ไม่หลีกหนีปัญหาด้วยการเสพสารเสพติด
8.) ขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยหลือจากผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง เพราะแก้ไขปัญหา
ตามลำพังโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น อาจนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ผิดผลาดได้
1.2 บทบาทของครอบครัว
ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญ การสร้างครอบครัวที่อบอุ่นจะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวอยู่อย่างเป็นสุข พ่อแม่เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ครอบครัวเป็นสุข ดังนั้น พ่อแม่ของแต่ละครอบครัวจึงควรเอาใจใส่ดูแลบุตรหลาน อบรมสั่งสอน และที่สำคัญควรมีความรักความเข้าใจอันดี ก็จะทำให้เยาวชนห่างไกลจากสารเสพติดได้
1.3 บทบาทของโรงเรียน
โรงเรียนเป็นสถาบันสำคัญรองลงมาจากครอบครัว จึงมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เยาวชนปลอดภัยจากสารเสพติด โดยโรงเรียนควรแสดงบทบาท ดังนี้
1. ให้ความรู้ในเรื่องสารเพติดแก่นักเรียนทุกคนอย่างสม่ำเสมอ
2. ครูควรให้ความเอาใจใส่ในการดูแลนักเรียน และเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้แก่นักเรียน
3. เมื่อทราบว่ามีนักเรียนติดยาเสพติด โรงเรียนต้องรีบแจ้งให้พ่อแม่หรือ
ผู้ปกครองของนักเรียนทราบ และร่วมมือกันแก้ปัญหาให้กับนักเรียนต่อไป
4. โรงเรียนควรจัดกิจกรรมต่างๆ และแหล่งนันทนาการให้แก่นักเรียนอย่าง
เพียงพอ โดยโครงการป้องกันสารเสพติดที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ ได้แก่ โครงการโรงเรียนสีขาว โครงการ To be number one เป็นต้น
                1.4 บทบาทของรัฐบาล
รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาสารเสพติดให้กับประชาชนทุกคน รัฐบาล
ได้จักทำแผนปฏิบัติการซึ่งเป็นแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดภายใต้ชื่อว่า “5รั้ว
เพื่อไทยเข้มแข็ง” โดยดึงพลังจากทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา ดังนี้
1.) รั้วชายแดน    จัดกำลังปฏิบัติการลาดตระเวน สกัดกั้นการนำเข้าสารเสพ
ติดตามแนวชายแดน  จัดตั้งอาสาสมัครประชาชนในหมุ่บ้านชายแดนเพื่อเป็นกำลังเฝ้าระวัง  รวมถึงปฏิบัติการสกัดกั้นสารเสพติดในเชิงรุก  ตลอดจนร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งด้านการข่าว  การปราบปรามสกัดกั้น  และการลาดตระเวนร่วมกัน
2. รั้วชุมชน  จากความอ่อนแอของชุมชน  ความไม่มีภูมิคุ้มกันของชุมชน 
ทำให้ปัญหาสารเสพติดเข้ามาแพร่ระบาดได้ง่าย  รัฐบาลจึงมีนโยบายอย่างชัดเจนที่จะสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาสังคมต่างๆ  การเฝ้าระวังให้มีการสำรวจตรวจสอบพฤติกรรมทั้งการค้าและการเสพด้วยกระบวนการประชาคม  เพื่อคัดกรองปัญหาสารเสพติดในหมู่บ้านและชุมชน
3. รั้วสังคม  มุ่งเน้นไปที่เด็กและเยาวชน ในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา  พบว่า
ปัจจัยลบในสังคม  ทั้งสถาบันบรรเทิงที่ผิดกฎหมาย  หอพักที่ไม่ได้จดทะเบียน ร้านเกม อินเทอร์เน็ต  แหล่งมั่วสุมต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด  ภารกิจนี้จึงเกิดขึ้นจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ  โดยดำเนินการขยายพื้นที่และกิจกรรมทางบวกมากขึ้น  รวมถึงการสร้างแกนนำต่างๆในจังหวัด  ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการจัดระเบียบสังคม
4. รั้วโรงเรียน  ปกติแล้วเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
ก็จะมีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องอื่น ตามมา เช่น หนีเรียน มั่วสุม เสพสารเสพติด ก้าวร้าว ดังนั้นมาตรการแก้ไขปัญหาของเยาวชนจึงต้องมุ่งเน้นไปที่สถานศึกษาทุกระดับ โดยมอบหมายให้ครูทำหน้าที่เสมือนกลไกปลูกฝังและสอดส่องพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ด้วยการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา อาทิ การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาเฉพาะ  ค่ายพัฒนาคุณธรรม  กิจกรรมนันทนาการทางเลือกตามความสนใจของเยาวชนทั้งดนตรี กีฬา  ศิลปะและการพัฒนาอาชีพ
5.  รั้วครอบครัว เป็นรั้วสำคัญที่ป้องกันสารเสพติด  เพราะเมื่อครอบครัว
เข้มแข็งก็จะส่งผลต่อพื้นฐานด้านความเข้มแข็งของประเทศด้วย  โดยการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางพัฒนาครอบครัวในชุมชน  จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง  ญาติพี่น้อง  เกี่ยวกับความรู้ในการป้องกันสารเสพติด  โดยจะมุ่งเน้นไปที่ครอบครัวที่มีบุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเสพติด  ทั้งทีถูกจับกุมหรือที่บำบัดรักษา  เป็นเป้าหมายแรก
2. ทักษะในการชักชวนผู้อื่นให้ลด ละ เลิก สารเสพติด
                ความสามารถในการชักชวนผู้อื่นให้ลด ละ เลิก สารเสพติด  ต้องเกิดจากความเข้าใจในทักษะชีวิต  และมีการฝึกฝนทักษะต่างๆ ให้เกิดความชำนาญ  จึงจะช่วยผู้ให้ลด ละ เลิก สารเสพติดได้ ซึ่งทักษะที่จำเป็นต้องใช้ประกอบด้วย
2.1 ทักษะการคิดวิเคราะห์
                                เมื่อประสบปัญหาใดๆก็แล้วแต่  กระบวนการคิดวิเคราะห์มักถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเสมอ  ซึ่งในการชักชวนผู้อื่นให้ลด ละ เลิก สารเสพติด  สามารถนำทักษะการคิดวิเคราะห์มาใช้ ดังนี้
1.ประเมินปัญหาและปัจจัยต่างๆ  ที่มีอิทธิผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของวัยรุ่น
ที่ส่งผลถึงการเสพสารเสพติด  เช่น  ค่านิยม  กลุ่มเพื่อน  สิ่งแวดล้อมรอบตัว  สื่อต่างๆ เป็นต้น  เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหา
2. ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ  พยายามคิดหา
เหตุผลที่มีน้ำหนักในการชักชวนให้ผู้อื่นลด ละ เลิก สารเสพติด เช่น การชี้แจง  ให้ข้อมูลผลดี  ผลเสียที่เห็นได้ชัด  เพื่อให้ผู้อื่นคล้อยตาม  เป็นต้น
                                3. ใช้ความคิดนางสร้างสรรค์เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ที่เราชักชวนเห็นข้อดีที่จะปฏิบัติตาม  เช่น การชวนผู้อื่นไปทำกิจกรรสร้างสรรค์ เช่น การเล่นกีฬา  การเล่นดนตรี เป็นต้น
31 พฤษภาคม  วันงดสูบบุหรี่โลก ตั้งแต่ปี 2531 องค์การอนามัยโลก  ได้กำเนิดให้
วันที่ 31 พฤษภาคม  ของทุกปี  เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงโทษของการสูบบุหรี่มากยิ่งขึ้น ทางองค์การอนามัยโลกจึงได้ให้แต่ละประเทศจัดทำคำขวัญรณรงค์ลดการสูบบุหรี่เนื่องในวันดังกล่าว  ซึ่งคำขวัญในแต่ละปีที่ผ่านมาของไทยเป็นดังนี้
2531  บุหรี่หรือสุขภาพ  ต้องเลือกสุขภาพ
2532 ตายผ่อนส่งด้วยบุหรี่  สิ้นศักดิ์ศรีสตรีไทย
2533  เติบโตอย่างสดใส  ห่างไกลบุหรี่
2534 ปีแห่งการรณรงค์  สาธารณสถานและยวดยานปลอดควันบุหรี่
2535  ที่ทำงานปลอดบุหรี่  สุขภาพ  ชีวีปลอดภัย
2536  บุคลากรสาธารณสุขสร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่
2537  ทุกสื่อรวมใจต้านบุหรี่
2538  บุหรี่มีพิษภัย  ทำลายไวกว่าที่คิด
2539 ศิลปะและการกีฬาไม่พึ่งพาบุหรี่  ถวายองคภูมี  ปีทรงครองราชย์
2540  โลกนี้สดใส  ทุกฝ่ายรวมใจต้านบุหรี่
2541  เติบโตอย่างสดใส  ห่างไกลบุหรี่
2542  อนาคตมีคุณค่า  เมื่อบอกลา  เลิกบุหรี่
2543 บันเทิงได้แม้ไร้ควันบุหรี่
2544  เห็นใจคนรอบข้าง  ร่วมสร้างอากาศสดใส  ปลอดจากภัยควันบุหรี่
2545 กีฬาปลอดบุหรี่  ส่งผลดีต่อสุขภาพ
2546  ภาพยนต์ปลอดบุหรี่  ส่งผลดีต่อสุขภาพ
2547  ครอบครัวปลอดบุหรี่  จะมั่งมีและแข็งแรง
2548  ทีมสุขภาพร่วมใจ  ขจัดภัยบุหรี่
2549 บุหรี่ทุกชนิด  นำสู่ความตาย
2550  ไร้ควันบุหรี่  สิ่งแวดล้อมคี  ชีวีสดใส
2551  เยาวชนรุ่นใหม่  ร่วมใจต้านภัยบุหรี่
2552  บุหรี่มีพิษ  ร่วมคิดเตือนภัย
ทั้งนี้ทางรัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสูญเสียชีวิตของประชาชนที่เกิดจากบุหรี่ 
จึงได้มีการรณรงค์ให้เลิกบุหรี่ การกำหนดมาตรการต่างๆ โดยการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข  และบุคลากรสาธารณสุข  ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่  พยายามเลิกสูบบุหรี่ รวมทั้งตรากฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ  การโฆษณาขายบุหรี่ทางโทรทัศน์  ตลอดจนให้มีการพิมพ์  โทษของบุหรี่ที่ข้างซอง  มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2548 เป็นต้น
2.2  เป็นความสามารถในการใช้ภาษาพูดหรือภาท่าทาง 
เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนในสถานการณ์ต่างๆ  ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแก้ไข
สถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม  ซึ่งการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพต้องมีความสามารถในการเป็นผู้ถ่ายทอดและผู้รับที่ดี  มีคำพูด  กิริยา ท่าทาง  ที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกอบอุ่น และเป็นมิตร  โดยทักษะการสื่อสารที่ดี  ในการชักชวนให้ผู้อื่นลด ละ เลิก  สารเสพติด  มีดังนี้
1. การแสดงความคิดเห็น  เป็นการแสดงให้ผู้อื่นรู้ว่าเราคิดเห็นอย่างไรต่อปัญหา
สารเสพติด  ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นคล้อยตาม  และไม่กล้าชักชวนเราให้เสพ  โดยต้องมีเหตุมีผลและเสนอความคิดเห็นด้วยน้ำเสียงหนักแน่น  จริงจัง  แต่นุ่มนวล   ไม่เป็นการเสนอความคิดเห็นด้วยถ้อยคำรุนแรง
2. การแสดงความชื่นชม  เป็นการแสดงออกให้เห็นว่าเราชื่นชมคนที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับ
สารเสพติดและชื่นชมที่คนเหล่านี้มีอนาคตที่ดี  เช่น เป็นนักกีฬา  เป็นนักเรียนที่เรียนเก่ง 
เป็นนักกิจกรรม  เป็นต้น
3. การขอร้อง เมื่อตกอยุ่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงต่อการถูกชักชวนให้เสพ
สารเสพติด  เราควรมีวิธีขอร้องโดยใช้คำพูดนุ่มนวล มีเหตุมีผล เพื่อให้เราสามารถรอดพ้นจากสถานการณ์นั้นๆ  โดยอีกฝ่ายไมโกรธเคือง
4. การเจรจาต่อรอง  เราควรใช้ถ้อยคำที่มีเหตุมีผล  ภาษาสุภาพ  ไม่เป็น
ทางการ  ขู่บังคับ หรือขู่ว่าจะบอกคนอื่น เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได้
5. การตักเตือน  เมื่อเห็นผู้อื่นหรือพี่น้องมีแนวโน้มว่าจะเสพสารเสพติด  ไม่ว่าจะ
เป็นบุหรี่  สุรา  หรือสารเสพติดใดกฝ้แล้วแต่  เราควรตักเตือนด้วยคำพูดที่มีเหตุผล  ชี้ให้เห็นถึงผลเสียต่อร่างกาย  ต่อการเรียน  ต่อครอบครัว  รวมถึงความรัก  ความห่วงใยที่มีให้เห็น  เพื่อโน้มน้าวให้เกิดความรู้สึกสำนึก  และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด  เป็นต้น
6. การปฏิเสธ  ทักษะการปฏิเสธมีความสำคัญมากในการป้องกันการใช้
สารเสพติด  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรู้  เพื่อให้สามารถปฏิเสธในสถานการณ์เสี่ยงต่างๆ  ซึ่งหลักการปฏิเสธที่เหมาะสมและได้ผลดีคือ
1. ตั้งสติ  และปฏิเสธด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น  จริงจัง  แต่ควรใช้คำที่
สุภาพ  เพื่อแสดงให้ผู้ชักชวนรู้  ว่าเรามีเหตุผลและอิทธิผลเหนือเขา  จะได้ไม่กล้าบังคับอีก
2.  แสดงความรู้สึกของตนเองด้วยเหตุผล  ไม่ต้องใช้เหตุผลอื่นมา
กล่าวอ้างเพราะผู้ชักชวนจะหาข้อโต้แย้งได้
3. ใช้การปฏิเสธที่เป็นทางการถนอมน้ำใจ  เพื่อแสดงออกไห้เขาเห็น
ว่าเราให้เกียรติเขา  โดยไม่ให้เสียความสัมพันธ์  และไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเสียหน้า หรือรู้สึกว่าตนถูกตำหนิ  เพราะอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับอีกฝ่ายได้
4. เมื่อปฏิเสธแล้ว  เราควรออกจากสถานที่นั้นโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ถูกเซ้าซี้
ต่อไปอีก  ซึ่งอาจใช้คำพูดบอกลาอย่างนุ่มนวล เช่น “เราไปก่อนนะ  พอดีจะไปห้องสมุดน่ะ”  หรือ  “ไว้คุยกันวันหลังนะ” เป็นต้น  แล้วรีบเดินจากไปทันที
7. การขอความช่วยเหลือ  เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย  เราควรตั้งสติ 
และคิดหาทางออกที่ดี  เพื่อความปลอดภัยของตัวเรา
2.3 ทักษะการตัดสินใจ
                เป็นความสามารถที่ต้องใช้เหตุผลความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์มาคิดวิเคราะห์และหาทางออกที่ดีที่สุด  เพื่อให้การตัดสินใจนั้นเป็นไปตามเป้าหมาย  และมีแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับตนเองและผู้อื่นด้วย  การฝึกทักษะการตัดสินใจโดยเรียนรู้กระบวนการต่างๆ  จึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก  ดังนี้
1. เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจ
2. ฝึกค้นหาตนเอง  ทำความเข้าใจตนเอง  หาข้อดี  ข้อเสียของตนเอง
3. พิจารณาตนเองว่าต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร
4. เมื่อพบปัณหาหรือสถานะการณ์ต่างๆ ให้นำปัญหามาฝึกวิเคราะห์หาสาเหตุ
แนวทางแก้ไข และลองตัดสินใจแก้ปัญหานั้นด้วยตนเอง แต่ถ้าแก่ไม่ตก ควรขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้
2.4 ทักษะการแก้ปัญหา
                เป็นความสามารถในการใช้ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการเผชิญและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างเหมาะสม โดยนำข้อสรุปของทักษะการคิดวิเคราะห์การตัดสินใจ มาลงมือแก้ปัญหาตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งทักษะการแก้ปัญหานี้ จะทำให้เรามีประสบการณ์เพิ่มขึนเรื่อยๆ และรู้จักปรับเปลี่ยนหาวิธีการที่เหมาะสม นับป้นการฝึกให้เรามีความอดทน มีเหตุผล และเป็นคนที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างดี พร้อมทั้งได้เรียนรู้วิธีการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย
กระบวนการตัดสินใจและแก้ปัญหา  มีอยู่ ๕ ขั้นตอนคือ
1. การกำหนดปัญหา โดยใช้พื้นฐานสังเกตพฤติกรรมบุคคล สถานการณ์
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ เพื่อกำหนดให้ได้ว่า อะไรเป็นปัญหาที่แท้จริง
2. การค้นหาสาเหตุของปัญหาและกำหนดทางเลือก  เป็นการพิจารณาหา
สาเหตุของปัญหา และคิดหาทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา โดยควรคิดไว้หลายๆทางเลือก
3. การวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของแต่ละทางเลือก เป็นการประเมินทางเลือกแต่
ละทางว่าจะเกิดผลดี ผลเสียอะไรบ้าง ยากง่ายอย่างไร นับเป็นการรวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจต่อการช่วยประเมิน
4. การตัดสินใจเลือกทางใดทางเลือกหนึ่งด้วยเหตุผลอย่างเหมาะสม 
อาศัยหลักความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ คุณธรรม กฎ ระเบียบ มาเป็นแนวทางในการตัดสินใจซึ่งเป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คิดว่าถูกต้องและเหมาะสมที่สุดตามความคิดของตนเอง
5. การหาแนวทางแก้ไขข้อเสียของทางเลือกที่เกิดจากการตัดสินใจ โดยคิด
ข้อเสนอแนะ วิธีการแก้ไขข้อเสียที่เกิดจากทางเลือกที่เลือกนั้นก่อน ทดลองใช้ ถ้าเห็นว่าสามารถช่วยแก้ผลเสียนั้นได้ ก็จะได้นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
๒.๕ทักษะการให้กำลังใจ
เป็นความสามารถในการให้กำลังใจ อาจจะเป็นการให้กำลังใจทั้งตนเองและผู้อื่น ซึ่งทักษะในการให้กำลังใจที่ดีในการชักชวนผู้อื่นให้ ลด ละ เลิก สารเสพติดนั้น ควรประกอบด้วย
1. ความตระหนักในตนเองเป็นความสามารถในการเข้าใจถึงจุดดีจุดด้อยของ
ตนเองและความแตกต่างของแต่ละบุคคล สามารถอยู่อย่างปกติสุขภายใต้แรงกดดันต่างๆ ในชีวิต
2. ความเห็นใจผู้อื่น เป็นความสามารถในการเข้าใจถึงความรู้สึก และมี
ความเห็นใจในบุคคลอื่น อันจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจ ยอมรับถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
3. ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า เชื่อในคุณประโยชน์ของ
ตนที่มีต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติทั้งการแสดงถึงการมีน้ำใจ รู้จักให้ รู้จักรับ รวมถึงการค้นพบและภูมิใจในความสามารถด้านต่างๆของตน
4. ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
ซึ่งเราควรมีส่วนรับผิดชอบในความพัฒนาหรือเสื่อมโทรมลงของสังคม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ถือเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เราปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบต่อผู้อื่นและสังคม
นักเรียนควรฝึกให้มีมุมมองในแง่ดีของตน มองในด้านบวกของผู้อื่น รู้จักให้กำลังใจตนเองและผู้อื่น “เข้าทำนอง คิดดี คิดบวก จิตร่าเริงแจ่มใส มองโลกน่าอยู่” เมื่อนักเรียนมีความตระหนักในตนเอง มีความเห็นใจผู้อื่น มีความภูมิใจในตนเอง และมีความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว ย่อมทำให้นักเรียนเกิดทักษะในการให้กำลังใจทั้งตนเองและผู้อื่นได้ในที่สุด

จากที่กล่าวมาทั้งหมด เห็นได้ว่าสารเสพติดถือเป็น “ภัยคุกคามที่บ่อนทำลายประเทศชาติอย่างร้ายแรง” ซึ่งส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้ง บุคคล สังคม ส่วนรวม และการพัฒนาประเทศ ทำให้สูญเสียทรัพยากรในการป้องกันและแก้ปัญหา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศ การหลีกเหลี่ยงจากสารเสพติด โดยการฝึกทักษะชีวิตเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะ การคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการให้กำลังใจ เป็นต้น



กลับสู่ดานบน เข้าสู้เนื้อหา




© copyright 2009 students.ptpk.ac.th