หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
:: การปฐมพยาบาลฯ
:: มหันตภัยจากสารเสพติด
:: การป้องกันภัยจากสารเสพติด
:: ตัวอย่างข้อสอบ

คำแนะนำ >> เลือกเรื่องย่อยของหน่วยการเรียนรู้เมนูด้านซ้าย


หน่วยการเรียรู้ที่ื ๔
ความปลอดภัยในชีวิต

มหันตภัยจากสารเสพติด

     สารเสพติดเป็นมหันตภัยร้ายแรงที่ก่อให้เกิดปญหาทั้งต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคและอุบัติเหตุซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ตลอดจนความปลอดภัยของผู้เสพ อีกทั้งยังสร้างปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น
    ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องหลีกเลี่ยงไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสารเสพติดเพื่อสร้างความมั่นคงเข้มแข็งและความผาสุกให้เกิดแก่สังคม
. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารเสพติด
           สารเสพติด หมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ก็ตาม เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโยวิธีการรับประทาน สูบ ฉีด ดม หรื่อวิธีอื่นๆ แล้วก่อให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพสารติด ผลร้ายของยาเสพติดที่มีต่อผู้เสพที่สำคัญ มี ๔ ประการ คือ
๑. มีความต้องการเสพสารนั้นอย่างรุนแรงทั้งร่างกาย จิตใจ และตลอดเวลา
๒. ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณการเสพสารมากขึ้น
๓. มีอาการอยากยาหรือเมื่อเวลาที่ต้องการเสพแล้วไม่ได้เสพ โดยจะแสดงอาการออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น หาว อาเจียน น้ำตาน้ำมูกไหล เป็นต้น
๔. ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสพเสื่อมโทรมลงอย่างรวกเร็ว
. ประเภทของสารเสพติด
                ๑. สารเสพติดที่แบ่งตามแหล่งที่เกิด

สารเสพติดธรรมชาติ

สารเสพติดสังเคราะห์

   เป็นสารหรือยาเสพติดที่ได้มาจากพืชหรือพันธ์ไม้บางชนิดที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ ฝิ่น กัญชา กระท่อม รวมถึงมอร์ฟีนและเฮโรอีน ซึ่งแปรสภาพทางเคมี

  เป็นสารหรือยาที่ผลิตหรือสังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีทางเคมีและใช้แทนสารเสพติดธรรมชาติ ได้แก่ ยาบ้า ยาอี กาวซีเมนต์ ทินเนอร์ เป็นต้น

.๒ สารเสพติดที่แบ่งตามพระราชบัญญัติสารเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติสารเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้จัดประเภทของสารเสพติด 
ไว้ ๕ ประเภท คือ


สารเสพติดธรรมชาติ

สารเสพติดสังเคราะห์

   เป็นสารหรือยาเสพติดที่ได้มาจากพืชหรือพันธ์ไม้บางชนิดที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ ฝิ่น กัญชา กระท่อม รวมถึงมอร์ฟีนและเฮโรอีน ซึ่งแปรสภาพทางเคมี

   เป็นสารหรือยาที่ผลิตหรือสังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีทางเคมีและใช้แทนสารเสพติดธรรมชาติ ได้แก่ ยาบ้า ยาอี กาวซีเมนต์ ทินเนอร์ เป็นต้น

ประเภทที่ ๓

ประเภทที่ ๔

ประเภทที่ ๕

  สารเสพติดให้โทษที่มีสารเสพติดในประเภทที่ ๒ เป็นส่วนผสมอยู่ด้วยตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับไว้ซึ่งทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการติดยาของประชากรน้อยแต่ยังคงมีอันตรายละมีประโยชน์มาในการรักษาโรค เช่น ยาแก้ไอ ผสมโคเคอีน

  สารเคมีที่ใช้ในการผลิตสารเสพติดให้โทษในประเภทที่ ๒ เช่น อาเซติค แอน”ฮไดรค์ อาเซติคลอไรด์

  สารเสพติดให้โทษที่มีได้อยู่ในประเภทที่ ๑ ถึงประเภท ที่ ๔ เช่น กัญชา พืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย

 

. ประเภทกระตุ้นประสาท
                                มีผลต่อระบบประสาททำให้ประสาทตึงเครียด สับสนเกิดภาพหลอนเพ้อคลั่งหวาดระแวง รู้สึกตื่นตัว  พูดมาก มือสั่นเหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ  ริมฝีปากแตกรูม่านตาเปิดกว้าง ปวดศีรษะเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน  เช่น ยาบ้า โคเคน ยาอี ยาเลิฟเอ็คซ์ตาซี และกระท่อม เป็นต้น
. ประเภทหลอนประสาท
                               เป็นสารเสพติดที่มีผลต่อระบบประสาทสมองส่วนสัมผัสทั้ง ๔ ทำให้การมองเห็นการได้ยิง การชิมรส การสัมผัส และการดม
กลิ่น เปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นจริง เห็นภาพลวงตาเป็นจินตนาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นจริง เช่น เห็ดขี้ควาย แอลเอสดี ยาเค เป็นต้น
.๓ สารเสพติดที่แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
        สารเสพติดสามารถออกฤทธิ์ต่อประสาท แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทคือ
. ประเภทกดประสาท
                              เป็นสารเสพติดที่ออกฟทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางในสมองที่ควบคุมความรู้สึก ทำให้สมองมึนงง ประสาทชา ขาดสติ ง่วงซึมละไม่มีความยับยั้งชั้งใจ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย แบบสเปรย์สารระเหยแบบทินเนอร์ (ทินเนอร์น้ำยาล้างเล็บ) ยานอนหลับเป็นต้น
               . ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน
เป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์ทั้งกประสาท กระตุ้นประสาทพร้อมกัน เช่น กัญชา
. ลักษณะและอาการของผู้ติดสารเสพติด
                สารเสพติดจะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพ ซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยผู้เสพจะมีลักษณะอาการที่สามารถสังเกตได้จาก การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายละด้านพฤติกรรม ดังนี้
.๑ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
      ๑.สุขภาพทรุดโทรม ผอม ซูบซีด และเจ็บป่วยง่าย
      ๒.ตาโรย ตาแดง และมีน้ำมูก น้ำตาไหล เหงื่อออกมากแลละกลิ่นตัวแรง บางครั้งจะได้กลิ่นของสารเสพติดเข้าไป
       ๓.มีรอยฉีดยาบริเวณต้นแขน จึงมักใส่เสื้อแขนยาว นิ้วมือ เล็บ จะมีความเหลืองดำ สกปรก ถ้าหากเสพโดยการสูบ
       ๔.มีอาการง่วงเหงาหาวนอน และเบื่ออาหาร บงครั้งอาจมีอาการเหมือนคนเมาเหล้า 
คลุ้งคลั่ง และทำรายผู้อื่น
.๒ การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม
                ๑. มีนิสัยเกียจคร้านและไม่รับผิดชอบงานหลังจากที่เสพยาเสพติด
๒. ซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว และง่าย เอาแต่ใจตัวเอง
๓. ขาดสติสัมปชัญญะ
๔. มีนิสัยโกหก โดยเริ่มจากโกหกเรื่องเล็กๆ น้อยๆไปจนถึงเรื่องใหญ่
๕. ใช้เงินเปลืองผิดปกติ โดยเด็กจะใช้เงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
                ๖. ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสกปรก
๗. ชอบเก็บตัวไม่สุงสิงกับใคร
๘. มีการติดต่อกับคนแปลกหน้ามากขึ้นโดยมักเป็นพวกที่มีสารเสพติด
๙. ใช้ห้องน้ำนานผิดปกติเป็นปกติ
๑o. พกพาอุปกรณ์เกี่ยวกับการเสพสารเสพติด

สมองติดยา
ภาวะสมองติดยา คืการใช้สารเสพติดจนส่งผลต่อสมอง ๒ส่วนคือ สมองส่วนคิด(Prefrontal)ที่ทำหน้าที่คิดอย่างมีเหตุผลด้วยสติปัญญา และสมองส่วนอยาก(Brain Reward Pathway) ที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ความอยาก
เมื่อเสพเข้าไปสมองจะหลั่งสารสื่อประสาทที่เรียกว่า ปามีน และซีโรโทนิน ทำให้รู้สึกมีความสุขผู้ที่เสพจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล  ซึ่งเรียกอาการนี้ว่า โรคสมองติดยา หากปล่อยไว้ไม่รีบบำบัดรักษา จะกลายเป็นผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวน ขาดความยับยั้งชั่งใจ เซลล์สมองฝ่อสติปัญญาแย่ลง กลายเป็นโรคสมองเสื่อมที่สุด
.  ความสัมพันธ์ของการใช้สารเสพติดกับการเกิดโรคและอุบัติเหตุ
สารเสพติดทุกประเภทจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคและอุบัติเหตุอย่างชัดเจน โดยเมื่อเสพเข้าไปสารเสพติดก็จะออกฤทธิ์ต่อร่างกาย ซึ่งมีผลต่อสุขภาพ และเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
         ๔.๑  ประเภทของสารเสพติดกับการเกิดโรค
                              สังเกตเสพติดเมื่อเสพเข้าไปแล้ว จะทำให้ภูมิต้านทานโรคในร่างกายน้อยกว่าปกติก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย โดยสารเสพติดที่ทำให้เกิดโรคที่พบเห็นได้บ่อยในคม ได้แก่
. บุหรี่
เป็นสารเสพติดที่ให้โทษทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เพราะในควันบุหรี่มีสารเคมีอยู่
มากมาย ซึ่งเป็นพิษภัยต่อสุขภาพของผู้เสพและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกาย โดยสารที่อยู่ในควันบุหรี่นั้นจะไม่มีผลที่ทำให้ผู้สูบติดได้ แต่เป็นการติดทางใจ ที่เรียกว่า “สิ่งเสพติดนิสัย” สูบเพราะความเคยชิน ถ้าไม่สูบจะไม่ทำให้เกิดอาการ “ลงแดง” เหมือนสารเสพติดอื่นๆการสูบบุหรี่เป็นพิษภัยต่อสุขภาพทั้งตัวผู้สูบ และผู้ที่ไม่ได้สูบซึ้งได้สูดดมเอาควันบุหรี่เข้าไป ซึ่งสารพิษที่มีอยู่ในบุหรี่นั้นมีหลายชนิด ทุกชนิดล้วนมีผลต่อสุขภาพด้วยกันทั้งสิ้น แต่สารพิษที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างเห็นได้ชัด มีดังนี้
๑.๑) นิโคติน (Nicotine)
                            เป็นสารที่ทำให้ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมอง โดยจะไปกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง ซึ้งเมื่อสูบ๑-๒ มวนแรกจะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่ถ้าสูบมากๆ หลายๆ มวน ประสาทส่วนกลางจะถูกกด ทำให้มีความรู้สึกช้าลง โดยนิโคตินร้อยละ ๙๕ จะไปจับอยู่ที่ปอด ส่วนที่เหลือจะไปจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ซึ้งมีผลโดยตรงต่อต่อมหมวกไต ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หลอดเลือดแดงหดและตีบตันอีกทั้งยังมีผลต่อการเพิ่มไขมันในเลือดอีกด้วย ทั้งนี้สารนิโคตินที่มีอยู่ในบุหรี่มีผลทำลายเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือดแดง ซึ้งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือหัวใจขาดเลือดได้
๑.๒) ทาร์หรือน้ำมันดิน (Tar)
                                            เป็นส่วนประกอบสำคัญของใบยาสูบ มีลักษณะเหนียวเป็นสีน้ำตาลเข้ม ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด ซึ้งเมื่อสูบเข้าไปสารทาร์ที่มีอยู่ในบุหรี่จะไปจับที่ปอด เมื่อสูบติดต่อกันหลายครั้งจะทำให้ขนปัดเล็กๆ ภายในเยื่อบุช่องลม ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เยื่อบุทางเดินหายใจ ถุงลมปอดถูกทำลาย มีการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อบุภายในทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง มีอาการไอเรื้อรัง และเป็นโรคถุงลมโป่งพอง
๑.๓) แก๊สต่างๆ
                                              เช่น แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) แก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen daioxide) เป็นต้น แก๊สเหล่านี้แต่ละชนิดเป็นพิษติ่ร่างกายแตกต่างกัน แต่โดยสรุปแล้ว แก๊สต่างๆ ในควันบุหรี่มีพิษภัยทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน สมองมึนงง เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และที่สำคัญ คือ ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ซึ้งเป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการทุกข์ทรมานมาก
                            ๑.๔) สารพวกคาร์ซิโนเจนต่างๆ ได้แก่ สารไฮโดรคาร์บอน และสารเบนช์ไพรินซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งขึ้นได้
             ๑.๕)สารระคายเคืองต่างๆ ในควันบุหรี่จะมีสารระคายเคืองอยู่หลายชนิด เช่น แอมโมเนีย (Ammonia) สารกัมมันตรังสี (Radioactive Agents) สารฟอร์มัลดีไฮด์(Formaldehyde) สารอะเซตตาดีไฮด์ (Acetaldehyde) โดยสารเหล่านี้จะไปรบกวนการทำงานของหลอดลมและปอด ทำให้เกิดอาการไอ มีเสมหะมาก หลอดลมอักเสบ และทำลายระบบการป้องกันตนเองโดยธรรมชาติของระบบหายใจ ทำให้ร่างมีโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย ซึ่งผลมาจากการสูบบุหรี่นั้น ทำให้เกิดโรคที่สามารถพบได้บ่อย ดังนี้
โรคมะเร็งปอด
                              เกิดจากสารก่อมะเร็งชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารทาร์ที่ได้รับจากควันบุหรี่ โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชายที่มีประวัติของการสูบบุหรี่ติดต่อกันมาเป็นเวลานานซึ่งการเลิกสูบบุหรี่สามารถลดโอกาสที่จะเกิดมะเร็งให้น้อยลงได้ ถึงแม้จะไม่น้อยลงเม่าคนสูบบุหรี่ก็ตาม
โรคถุงลมโป่งพอง
                              เป็นโรคที่เนื้อปอดและถุงลมปอดถูกทำลาย ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้รู้สึกหายใจไม่เพียงพอ หอบเหนื่อย หายใจลำบากและถี่ขึ้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากการสูบบุหรี่ โดยการสูดเอาควันบุหรี่เข้าไปในร่างกาย และผ่านเข้าไปในปอด ซึ่งในควันบุหรี่บุหรี่จะมีสารพิษที่ไปทำอันตรายต่อเนื้อปอด นอกจานี้ ไม่เพียงแต่สูบบุหรี่เท่านั้น การสูดดมสิ่งที่เป็นพิษ เช่น มลภาวะ ไอเสีย ฝุ่น สารเคมีเป็รระยะเวลานานๆ ก็สามารถเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้เช่นกัน
โรคหัวใจ
                              สาเหตุการเสียชีวิตอันดับหน่งของคนไทยโดยส่วนใหญ่เป็นหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ซึ่งสาเหตุสำคัญ คือ การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษที่อยู่ในควันบุหรี่ ได้แก่ แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ นิโคติน เหล่านี้จะมีผลต่อการทำงานของหัวใจทำให้หลอดเลือดตีบตัน เกิดอาการหัวใจวาย
๒) สุรา
นับเป็นการเสพสารเสพติดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ภายใน
ร่างกาย โดยเอทิลแอลกอฮอลที่มีอยู่ในสุรานี้ เมื่อดื่มเข้าไปจะดูดซึมและกระจายไปในทุกส่วนของร่างกายภายในเวลา ๕ นาที มีผลทำให้เกิดพิษต่อระบบต่างๆ ที่สำคัญ คือ
                ๒.๑) พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ที่มีอยู่ในสุราเมื่อดื่มเข้าไปในปริมาณที่มากจะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้ ขาดสติ ขาดประสิทธิภาพในการกระทำสิ่งต่างๆ หูอื้อ ตาลาย เชื่องช้า เสียการทรงตัว บุคลิกภาพเปลี่ยนไป และถ้าดื่มเป็นประจำอาจมีผลทำให้ความจำเสื่อม สมองฝ่อได้
๒.๒) พิษต่อระบบหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง หลอดเลือดขยายตัว 
จึงทำให้ผู้ดื่มมีใบหน้าแดง หูแดง มีเลือดไปเลี้ยงสมองมาก ทำให้สมองบวม มีอาการปวดศีรษะ สำหรับในรายที่เป็นมาก อาจทำให้มีอาการชา มีความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตกอาจทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้
๒.๓) พิษต่อการทำงานของตับ ทำให้ตับทำงานหนัก เกิดภาวะตับแข็ง และกลายเป็นโรคมะเร็งในที่สุด
                ๒.๔) ระบบเผาผลาญกับต่อมไร้ท่อ เช่น ระดับฮอร์โมนเพศลดลง สมรรถภาพทางเพศลดลง เป็นต้น
                ๒.๕) พิษต่อระบบต้านเชื้อโรค ทำให้ร่างกายอ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่ำ ติดเชื้อและเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย
                ๒.๖) พิษต่อทารกในครรภ์ อาจมีผลทำให้ทารกในครรภ์พิการหรือแท้งได้ ซึ่งผลจาการดื่มสุราที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่พบได้บ่อยมีดังนี้
โรคพิษสุราเรื้อรัง
                               มีลักษณะอาการกระหายต้องการดื่มสุรา จนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ถ้าไม่ได้ดื่มสุรา จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก มือสั่น กระวนกระวาย โดยอาการเหล่านี้จะหายไป เมื่อได้ดื่มสุราหรือรับประทานยานอนหลับ ซึ่งโรคพิษสุราเรื้อรังเป็นโรคที่มีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ จนกระทั้งเกิดอาการทางประสาทและทางร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาทเมื่อได้รับแอลกอฮอล์เป็นประจำ 
โรคมะเร็งตับ
                                พบมากเป็นอันดับ ๑ ในเพศชาย ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่เห็นได้เด่นชัดคือ ตับแข็งจากการดื่มสุรา นับว่าเป็นโรคมะเร็งที่มีการดำเนินของโรคเร็วมาก โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งตับนี้จะมีอาการน้ำหนักลด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จุกเสียดแน่นท้อง ท้องผูก ปวดท้องตลอดเวลา ปวดหรือเสียดบริเวณชายโครงด้านขวา อาจคลำก้อนได้ที่บริเวณตับ ท้องบวมขึ้น หายใจลำบาก ตัวเหลือง ตาเหลือง และบวมบริเวณขาทั้ง ๒ ข้าง โดยจะเสียชีวิตภายใน ๓-๖ เดือน
. ยาบ้าหรือแอมเฟตามีน
มีพิษต่อระบบประสาททำให้ประสาทตรึงเครียด เกิดภาพหลอน เพ้อคลั่ง บาง
รายอาจมีอาการถึงขั้นทำร้ายตนเองและผู้อื่นให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตซึ่งเมื่อมีการเสพยาบ้าในปริมาณมากๆ ฤทธิ์ของยาจะไปทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดโรคประสาทได้ โดยโรคประสาทที่เกิดจากการเสพยาบ้า แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คีอ            
        ๓.๑ โรคประสาทชนิดวิตกกังวล จะมีอาการวิตกมากเกินไป ไม่สมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ใจสั้น อาจมีอาการร้อนตัว ชาเป็นแถบๆ หายใจไม่เต็มปอด เบื่ออาหาร มีเหงื่อ ออกตามมือและเท้า ก่อนนอนจะมีอาการสะดุ้งคล้ายกับตกจากที่สูง
๓.๒ โรคประสาทชนิดหวาดกลัว มีความกลัวอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ โดยจะมีอาการหวาดกลัวแสดงออกในรูปของการเป็นลม อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อพ้นจากสภาพการณ์ ซึ่งสิ่งที่ผู้เป็นโรคประสาทชนิดนี้จะหวาดกลัว ได้แก่กลัวการอยู่ตานลำพัง กลัวสถานการณ์บางอย่าง กลัววัตถุ กลัวกิจกรรม
๔) ยาเลิฟ ยาอี และยาไอซ์
เป็นสารเสพติดที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่นชายหญิงตาม
สถานเริงรมย์ต่างๆ ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท เมื่อเสพเข้าไปจะทำให้กิดอาการเคลิบเคลิ้ม ได้ยินเสียงและมองเห็นแสงสีต่างๆ ผิดไปจากความเป็นจริงไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ มีความสุขสนุกสนานได้ทุกสถานการณ์ มีความต้องการางเพศสูง ซึ่งบางรายอาจมีผลทำให้เกิดพฤติกรรมการสำส่อนทางเพศ จึงเป็นเหตุทำให้มีโอกาสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่าย
๕) สารระเหย
มีลักษณะเป็นไอระเหยเร็ว มักพบอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น ทินเนอร์ กาว
ยางแลกเกอร์ สีสเปรย์ น้ำยาล้างเล็บ น้ำมันเบนซิน สีน้ำมัน เป็นต้น มีฤทธิ์หลอนประสาท โดยผู้เสพจะมีอาการประสาทหลอน อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย  เอะอะโวยวาย  ส่งผลเสียต่อผู้เสพคือหลงลืมง่าย ร่างกายอ่อนแอ เยื่อจมูกมีเยื่อจมูกออกหลอดลมและปอดอักเสบ ไขกระดูกซึ่งสร้างเม็ดเลือดให้แก่ร่างกายถูกทำลาย ชาตามปลายมือ ปลายเท้า กล้ามเนื้อฝ่อ ลีบ นอกจากนี้ในรายที่สูดดมมากๆ เป็นเวลานานอาจทำให้เป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือด สมองพิการ ตับพิการ เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถรักษาร่างกายให้คืนสู่สภาพปกติได้อีกนอกจากนี้ในรายที่สูดดมครั้งละมากๆ ก็อาจจะทำใหสำลักจนถึงแก่ความตายได้
       ๖) กัญชา
เป็นสิ่งเสพติดที่อยู่ในความควบคุมของพระราชบัญญัติสารเสพติด  มีฤทธิ์หลอน
ประสาท ทำให้ผู้เสพเห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงแว่ว ประสาทมึนงง อารมณ์และความคิดสับสน หากเสพไปนานอาจทำให้ป็นโรคจิต ซึ่งผู้เสพกัญชาจะ หัวเราะง่าย ชอบหัวเราะเสียงดัง ตื่นเต้นง่าย ม่านตาดำขยายกว้าง ลืมความทุกข์ไปชั่วครู่ชั่วคราว ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ถ้าไม่ได้เสพจะ
ทำให้มีอาการหงุดหงิดและเซื่อมซึมได้
๗) เฮโรอีน
เป็สารเสพติดที่ร้ายแรงที่สุด มีลักษณะผงสีขาว เรียกกันว่าผงขาว ไม่มีกลิ่น
รสขมจัด เสพเพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งก็สามารถติดได้ทันที จะออกฤทธิ์กดประสาททำให้มึนงง เซื่อมซึม ง่วง สามารถหลับได้นานโดยไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ซึ่งผู้เสพเป็นประจำจะทำให้สมองเสื่อม ร่างกายซูบผอม ทรุดโทรม หากเสพมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการช็อกและเสียชีวตและอาจเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์เนื่องจากใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
.๒ ประเภทของสารเสพติดกับการเกิดอุบัติเหตุ
         การใช้สารเสพติดมีความสัมพันธ์ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ ความพิการ และอาจเสียชีวิตได้นับเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนต่อตนเองและบุคคลรอบข้าง ซึ่งได้ยกตัวอย่างสารเสพติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

  1. สุรา

มีผลกระทบต่อสมองส่วนที่ควบคุมการประสานงานของแขน ขาและสายตา ทำให้เกิด
การทำงานที่ไม่สมดุลกันประสิทธิภาพในการขับขี่ลดลงมาก บางรายมีอารการคึกคะนอง ไม่สามารถควบคุมยานพาหนะได้ จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังส่งผลทำผู้อื่นได้รับอันตราย บาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตได้
๒) ยาบ้า
มีโอกาสก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่มักอยู่ในกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมเสพยาบ่อยครั้ง
ได้แก่ผู้ขับรถบรรทุก พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง หรีอผู้ขับรถกระบะรถบรรทุก เป็นต้น ยาบ้าหรือแอฟเฟตามีนนี้จะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การทรงตัวและการถ่ายทอดความรู้สึก มีผลทำให้ผู้ที่เสพยาบ้าไม่ง่วงนอนไม่เหนื่อยหรืออ่อนเพลีย สดชื่น  แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาร่างกายจะอ่อนเพลียมากมีอาการรซึมเศร้า ง่วงนอนและหลับในง่าย จึงเป็นเหตุให้นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

สรุป
สารเสพติดทุกชนิดล้วนทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อเสพ
เข้าสู่ร่างกายทรุดโทรม ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ทั้งยังต้นเป็นเหตุนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมาก ถ้าหาผู้ใช้สารเสพติดมีการขับขี่ยานพาหนะหรือควบคุมเครื่องจักรต่างๆ ดังนั้นเยาวชนจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิดและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่จะร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาสารเพติดที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้



กลับสู่ดานบน เข้าสู้เนื้อหา




© copyright 2009 students.ptpk.ac.th