หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
:: การปฐมพยาบาลฯ
:: มหันตภัยจากสารเสพติด
:: การป้องกันภัยจากสารเสพติด
:: ตัวอย่างข้อสอบ

คำแนะนำ >> เลือกเรื่องย่อยของหน่วยการเรียนรู้เมนูด้านซ้าย


หน่วยการเรียรู้ที่ื ๔
ความปลอดภัยในชีวิต

การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัย

๑.๑ วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล
                 การปฐมพยาบาล  หมายถึง การให้ความช่วยเหลือต่อผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุให้พ้นจากอันตราย  หรือลดอันตรายให้น้อยลงโดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่จะนำผู้ป่วยส่งต่อไปยังสถานพยาบาลต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการปฐมพยาบาลดังนี้
                         ๑. เพื่อช่วยชีวิต และลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยให้น้อยลง
                         ๒. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
                         ๓. ป้องกันความพิการที่จะตามมาภายหลัง
                         ๔. จัดเตรียมหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธี
๑.๒ หลักสำคัญในการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาลนั้นจำเป็นต้องกระทำโดยรวดเร็วและถูกต้องที่สุด ซึ่งการปฐมพยาบาลจะได้ผลดากหรือน้อยเพียงใด  ย่อมต้องคำนึงถึงทั้งผู้ปฐมพยาบาล และผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย ให้มีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง                                    
                   โดยหลักสำคัญในการปฐมพยาบาลมีดังนี้
                         ๑. ความปลอดภัยของสถานที่ที่เกิดเหตุ  ผู้ปฐมพยาบาลควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก่อนเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย 
                         ๒. เมื่อมีผู้ได้รับอุบัติเหตุ  ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆ ในท่าที่สบายที่สุด หรือในท่าที่ถูกต้องต่อการพยาบาล แล้วแต่อาการเจ็บป่วยแต่ละแบบ
                         ๓. ทำให้บริเวณนั้นมีอากาศถ่ายเท ปลอดโปร่ง ไม่มีคนมุงดู มีแสงสว่างเพียงพอที่จะทำการปฐมพยาบาลได้สะดวก
                         ๔. สำรวจระบบที่สำคัญของร่างกายอย่างรวดเร็ว และวางแผนการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม คอยสังเกต ชีพจร และการหายใจของผู้ป่วยตลอดเวลา
                         ๕. ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทันทีโดยไม่เตรียมการ เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการบาดเจ็บมากขึ้น ซึ่งถ้ามีการเคลื่อนที่ไม่ถูกวิธีอาจมีผลทำให้ผู้บาดเจ็บพิการไปตลอดชีวิตได้
                         ๖. ถ้าสถานที่นั้นไม่ปลอดภัย เช่น  อยู่ในน้ำ กลางถนน หรือสถานที่นั้นไม่สะดวก ให้เคลื่อนย้ายไปในที่ที่ปลอดภัย
                         ๗. การนำส่งหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าควรนำส่งในลักษณะใด และนำส่งอย่างไรให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย
                         ๘. ในการนำส่งสถานพยาบาล ควรมีการรายงานเรื่องราวของผู้ป่วย อาการต่าง ๆและการปฐมพยาบาลให้แพทย์ได้วินิจฉัยทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง
                         ๙. ผู้ยาบาลควรให้ความช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญของการมีชีวิต โดยเรียงลำดับตามความสำคัญ  ดังนี้

  1. การหยุดหายใจ ทางเดินหัวใจอุดตัน หัวใจหยุดเต้น
  2. การเสียเลือดจำนวนมากอย่างรวดเร็ว
  3. หมดความรู้สึก
  4. ความเจ็บปวด
  5. กระดูกหัก

๒. วิธีการปฐมพยาบาลอย่างปลอดภัย
                   ๒.๑ การห้ามเลือดจากแผล
                         โดยปกติเมื่อคนเรามีบาดแผล หากบาดแผลไม่ใหญ่เลือดมักจะหยุดเอง แต่ถ้าเป็นบาดแผลใหญ่และมีเลือดไหลออกมาไม่หยุดถ้าไม่ทำการห้ามเลือดอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงและอาจเสียชีวิตได้
                                ๑) การห้ามเลือดแผลทั่วไป มีวิธีการดังนี้
                                      ๑. ใช้นิ้วกดลงบนบาดแผลตรงที่มีเลือดออก
                                      ๒. ยกส่วนที่มีเลือดออกให้สูงกว่าระดับหัวใจ
                                      ๓. ถ้าบริเวณที่เลือดออกอยู่ต่ำกว่าข้อพับของข้อศอกหรือข้อเข่า ให้ใช้ผ้าวางที่ข้อพับ และพับข้อศอกหรือข้อเข่านั้นไว้ แล้วใช้ผ้าสะอาดพันรอบๆ ซึ่งวีนี้เรียกว่า “Pad and Bandage”
                                      ๔. ใช้น้ำแข็งประคบที่บริเวณแผล ซึ่งความเย็นนี้ทำให้หลอดเลือดตีบ ทำให้เลือดที่ออกมาแข็งตัวได้เร็วขึ้น
                                      ๕. การใช้เครื่องรัดรัดเหนือแผล เป็นการห้ามเลือดไม่ให้ไหลไปสู่บริเวณแผลนั้น
                                ๒) การห้ามเลือดตามตำแหน่งต่างๆของร่ายกาย
                                      ๑. ศีรษะ ใช้ผ้าสะอาดทับกันหนาๆแทนผ้าพันแผล
                                      ๒. ลิ้นหรือริมฝีปาก ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบทั้งสองข้างของแผล
                                      ๓. บริเวณที่คอ ใช้นิ้วหัวแม่มือกดบนหลอดโลหิต
                                      ๔. ต้นแขน ให้ใช้สายมารัดเหนือแผล
                                ข้อควรคำนึง
                                ๑. ผู้ให้ความช่วยเหลือต้องป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อโรคที่สามารถติดต่อได้ทางเลือดของผู้ป่วย
                                ๒. กรณีที่ผู้ช่วยเหลือมีบาดแผล ควรใช้ผ้าปิดบาดแผลของตนก่อน
                                ๓. ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลของผู้ป่วย โดการทำความสะอาดมือหรืออุปกรณ์ต่างๆที่ต้องสัมผัสกับบาดแผลของผู้ป่วย
                                ๔. การห้ามเลือดในกรณีที่เลือดไม่หยุดไหลรีบนำส่งแพทย์ทันที
๒.๒ การปฐมพยาบาลเมื่อได้รับบาดแผล
                         บาดแผล หมายถึง การชอกช้ำฉีกขาดของผิวหนังและเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดอาการต่างๆแทรกซ้อนได้ เช่น การเกิดหนอง บาดทะยัก และตกเลือด เป็นต้น
                         หลักสำคัญของการปฐมพยาบาล มีดังนี้
                                ๑. ถ้ามีเลือดไหล จะต้องห้ามเลือดโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
                                ๒. ถ้ามีอาการช็อกหรือเป็นลม ควรรักษาการเป็นลมเสียก่อน
                                ๓. เมื่อเลือดหยุด ให้ทำความสะอาดบาดแผล
                                ๔. ขณะทำความสะอาดควรตรวจบาดแผลว่ากว้างลึกแค่ไหน มีอะไรค้างอยู่ไหม
                               ๕. ถ้าบาดแผลเกิดขึ้นบริเวณแขนหรือขา ควรให้บริเวณนั้นได้พัก
                                ๖. รีบนำส่งสถานพยาบาลโดยด่วน
                               ๗. ควรบันทึกเหตุการณ์ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แพทย์ได้ทราบ
  การปฐมพยาบาล
                   ๑) บาดแผลตัด
                         บาดแผลตัดเกิดจากแผลที่ถูกของมีคมบาด ซึ่งวิธีการมี  ดังนี้

  1. ถ้าบาดแผลเลือดออกเล็กน้อยให้ทำการห้ามเลือด โดยการให้ผ้าสะอาดกดลงประมาณ

 ๑๕-๒๐ นาที

  1. ถ้าเลือดหยุดแล้วให้ทำความสะอาดแผล
  2. ถ้าแผลกว้างและลึกให้ใช้ผ้าสะอาดกดแผลไว้และรีบนำส่งสถานพยาบาลทันที

                   ๒) บาดแผลช้ำ
                   บาดแผลช้ำเกิดจากการถูกชกต่อย กระแทก หกล้ม เป็นต้น มีวิธีการปฐมพยาบาล  ดังนี้
                   Ø ใน ๒๔ ชั่วโมงแรกให้ประคบด้วยความเย็น เพื่อระงับความเจ็บปวดและการเลือดออก
 ๒๔ ชั่วโมงหลังให้ประคบความร้อนได้ เพื่อบรรเทาอาการบวม
                   Ø บาดแผลถูกแทง
                   Ø บาดแผลถูกแทงให้รีบนำส่งสถานพยาบาลทันที

การปฐมพยาบาลถูกสัตว์มีพิษกัด
                   ๑) งูกัด
                   วิธีการรักษา

      1. ดูแผลว่าเป็นงูมีพิษกัดหรือไม่
      2. ใช้เชือกหรือสิ่งที่หาได้ในขณะนั้นรัดไว้เหนือแผล(ให้สอดนิ้วก้อยเข้าได้)
      3. ให้ล้างน้ำสะอาดหรือน้ำด่างทับทิมแก่ๆบ่อยๆเพื่อชะลอการแพร่กระจายของพิษ
      4. ทำให้ผู้ที่ถูกกัดไม่ตกใจเพราะถ้าตกใจจะทำให้การสูบฉีดเลือดเยอะขึ้นทำให้พิษแพร่กระจายได้เร็วขึ้น
      5. หากปฐมพยาบาลแล้วไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน  

                   ข้อ ห้ามสำหรับผู้ที่ถูกงูพิษกัด
                                ๑. ไม่ควรรัดแบบขันชะเนาะ เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณที่ต่ำกว่ารอยรัดไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้บริเวณนั้นเกิดการเน่าขึ้นได้ภายหลัง
                                ๒. ไม่ควรใช้ไฟจี้แผล มีดกรีดแผล หรือดูดแผล
                                ๓. ผู้ที่ถูกงูกัด ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะไปออกฤทธิ์กดการหายใจ ไม่ควรให้ยากล่อมประสาท ยาระงับประสาท เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการง่วงได้ ซึ่งทำให้สับสนับอาการจากพิษงูบางชนิด
                                ๔. อย่าเสียเวลาลองใช้ยาในบ้าน หรือวิธีรักษาแบบอื่นๆ ควรรีบนำส่งสถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการรักษาจะปลอดภัยมากกว่า
                                ๕. อย่าพยายามใช้เชือกรัดบริเวณข้อกระดูกต่างๆ เช่น ข้อเท้า เข่า ข้อศอก เป็นต้น
   
เกร็ดน่ารู้!!!
                         การป้องกันไม่ให้งูกัด

  1. พยายามอย่าเดินในทางที่มีหญ้ารกมาก
  2. หลีกเลี่ยงการเดินในป่าเวลากลางคืน
  3. อย่าเดินในซอกหินแคบ
  4. ไม่ควรนอนกับพื้นเมื่อนอนในป่า

                         . ถูกสุนัขบ้ากัด  โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว กระรอก วัว ม้า สามารถติดต่อได่โดย น้ำลายของสัตว์มาเข้าบาดแผล ซึ่งจะมีอาการ กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ลม และเสียงดัง ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถป้องกันได้ดังนี้
                        เมื่อถูกสัตว์กัดให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่หลายๆครั้ง
ทำความสะอาดซ้ำด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ แล้วใส่ยารักษาแผลสดทั่วไป
ควรรีบนำส่งสถานพยาบาลเพื่อรับการฉีดวัคซีน ถ้ารักษาด้วยสมุนไพรนั้น ไม่สามารถรักษาได้
ถ้ากักขังสัตว์ไม่ได้ ควรรีบกำจัดสัตว์โดยเร็วแต่อย่าให้ส่วนหัวบุบสลายเพราะจะต้องนำส่งตรวจต่อไป
ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดก็จำเป็นจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ควรนำสัตว์เลี้ยงไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามคำแนะนำของแพทย์ 
                   ข้อสังเกตุสำหรับสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
                         จะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สัตว์ที่ดุร้ายมีอาการเชื่อง สัตว์ที่เชื่องมีอาการดุร้าย ตื่นเต้น กระวนกระวาย
                         ๒.๔ การปฐมพยาบาลเมื่อถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก
                         ผิวหนังที่ถูกทำลายด้วยความร้อนจนเกิดเป็นแผลไหม้ จะทำให้เกิดอันตรายจนถึงเสียชีวิต หรือแผลที่โดนน้ำร้อนลวก จะมีวิธีปฐมพยาบาลที่เหมือนกันหากมีการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีจะช่วยลดอาการลงได้   
                         แผลที่ถูกไฟไหม้และน้ำร้อนลวกมีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่
                                Ø แผลแบบตื้นๆ การบาดเจ็บเกิดขึ้นที่บริเวณผิวหนังชั้นนอก โดยผิวหนังจะมีสีเข้ม เกรียม ดำหรือพอง และเจ็บตรงบริเวณแผล
                                Ø แผลแบบลึก ผิวหนังทุกชั้นจะถูกทำลาย มีสีแดงเข้มไหม้เกรียมหรือพุพองขึ้นมา แต่ไม่ค่อยรู้สึกเจ็บบริเวณแผลเพราะปลายประสาทถูกทำลาย
                         การปฐมพยาบาลมีดังนี้
                                Ø สำหรับผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวกให้ใช้น้ำเย็นราดอย่างน้อย 10 นาที และ ไม่ควรใช้น้ำมัน ครีม หรือน้ำยาทาผิว ทาบริเวณแผล
ใช้ผ้าสะอาดเช็ด เช่น ผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดปิดบริเวณแผล และใช้ผ้านุ่มๆคลุมทับไว้ เพื่อไม่ให้แผลเจ็บมากขึ้น
                                Ø ถ้าแผลไหม้หรือถูกลวกนั้นรุนแรงมาก ห้ามให้แผลถูกน้ำ แต่ใช้ผ้าปิดแผลที่ฆ่าเชื้อโรคแล้ว ปิดแผลไว้หลวมๆ และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ
                                Ø ถ้าแผงไหม้หรือลวกนั้นมีบริเวณกว้าง ให้ผู้ป่วยนอนยกขาทั้ง 2 ข้างให้สูงกว่าลำตัว แต่ถ้าแผลไหม้เกิดบริเวณศีรษะ หน้าท้อง หน้าอก ให้ใช้ผ้าห่มหนุนไหลไว้
ห้ามเจาะถุงน้ำที่พองบริเวณแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น
                         .๕ การปฐมพยาบาลเมื่อเลือดกำเดาไหล
                                เลือดกำเดาไหลเป็นอาการที่พบได้บ่อยในวัยเด็กและวัยกลางคน  ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแน่ชัด อาจเกิดจากการเป็นหวัด จามแรงเกินไป หรือ แคะจมูก หรืออาจพบในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ
                         การปฐมพยาบาล ควรกระทำดังนี้
                                Ø ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงบนเก้าอี้และก้มศีรษะไปข้างหน้าเล็กน้อย
                                Ø บีบจมูกให้แน่นประมาณ ๑๐ นาที ระหว่างนี้กลืนเลือดที่ออกจากทางด้านหลังจมูก และหายใจทางปาก พอครบ ๑๐ นาที ให้ปล่อยมือที่บีบีจมูก แล้วนั่งนิ่งๆถ้าเลือดยังออกอีกให้บีบีต่ออีก ๑๐ นาที
                                Ø วางน้ำแข็ง หรือผ้าเย็นๆ บนสันจมูก หรือหน้าผาก
                                Ø เมื่อเลือดหยุด ให้นั่งนิ่งๆ หรือนอนลงสักพัก ระหว่างนี้ห้ามสั่งน้ำมูกอย่างน้อย ๓ ชั่วโมง และไม่ควรแคะจมูกหรือใส่สิ่งแปลกปลอมเข้าไป
                                Ø ถ้าเลือดออกมาจนซีด และปวดศีรษะ หรือไม่สามารถห้ามเลือดด้วยวิธีธรรมดา (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ) หรือถ้าเป็นบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์
                         ๒.๖ การปฐมพยาบาลคนเป็นลม
                                การเป็นเป็นลม เป็นอาการที่เกิดขึ้นเนืองจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราวทำให้ผู้ป่วยหมดสติไปชั่วครู่ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้
ลมแดด หรือหมดสติจากความร้อน เกิดจากการเสียเหงื่อมากเมื่อวิ่งเล่นกีฬานานๆ หรือทำงานในที่ที่ร้อนจัด โดยไม่ได้รับการชดเชยน้ำหรือเกลือแร่ที่สูญเสียไปอย่างเพียงพอ เมื่อขาดน้ำมาก ๆ ร่างกายก็ไม่สามารถระบายความร้อนออกทางเหงื่อได้ จึงทำให้อุณหภูมิในร่างกายร้อนจัดและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระหายน้ำมากปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้ หายใจเร็วตัวจะร้อนขึ้นเรื่อยๆ อาเจียน และหมดสติได้ในเวลาต่อมา ซึ่งหากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลและรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
                   วิธีปฐมพยาบาลคนเป็นลม
                         การปฐมพยาบาล ควรกระทำ  ดังนี้
                                Ø นำผู้ป่วยเข้าไปในที่เย็นให้เร็วที่สุด โดยจัดที่นอนราบแล้วยกเท้าให้สูง ทั้งสองข้างเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปที่สมอง
                                Ø ถอดเสื้อของผู้ป่วยออกคลุมตัวผู้ป่วยด้วยผ้าเย็นและเปียก คอยพรมน้ำเปียกตลอดเวลาหรือใช่ผ้าเย็นเช็ดตัวให้ทั่ว เพื่อให้อุณหภูมิของร่างกายผู้ป่วยลดลงสู้ระดับปกติ
                                Ø เมื่ออุณหภูมิของร่างกายผู้ป่วยลดลงระดับปกติแล้ว ให้เปลี่ยนผ้าคลุมที่เปียกออกเป็นผ้าแห้ง แล้วสังเกตอาการผู้ป่วยต่อไปอย่างใกล้ชิด
                                Ø เมื่อปฐมพยาบาลแล้ว ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
                                Ø การหมดแรงเพราะร้อนหรือเพลียแดด เกิดจากการเสียเหงื่อมากเกินไป พบได้บ่อยในผู้ที่ไม่ค่อยสบาย เช่น ท้องเสียลาเจียน หรือออกกำลังกายในสิ่งแวดล้อมที่ร้อนชื้น โดยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มึนงง สับสน กระสับกระส่าย คลื่นไส้ เหงื่อออก ผิวหนังซีด เป็นตะคริวบริเวณแขน ขาหรือหรือหน้าท้อง ชีพจรและการหายใจเบาและเร็ว
                         ข้อสังเกตลักษณะผู้ป่วย
                                ลมแดด จะไม่มีเหงื่อออก อุณหภูมิในร่างกายจะร้อนจัด และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องใช้ความเย็นช่วยประคบ ส่วนการหมดแรงเพราะร้อนหรืเพลียแดด จะมีเหงื่อออก และเป็นตะคริวตามแขน ขา หรือหน้าท้อง
                         ๒.๗ การปฐมพยาบาลเมื่อกระดูกหัก
                        กระดูกหัก หมายถึง กระดูกร้าว แตก หรือหัก ซึ่งสาเหตุเกิดจากการถูกแรงกระทบโดยตรงหรือทางอ้อม โดยพบได้ ๒ ลักษณะ คือ กระดูกหักแผลปิด กระดูกหักแผลเปิด ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
                                      Ø ส่วนมากผู้ป่วยจะได้ยินเสียงหรือได้ยินเสียงปลายกระดูกหักครูดกัน
ซึ่งบางครั้งจะดังออกมาจนได้ยิน
                                      Ø ผู้ปวดจะรู้สึกปวดบริเวณที่กระดูกหักเมื่อสัมผัส มีอาการบวม ช้ำ และไม่สามารถใช่อวัยวะส่วนนั้นได้
รูปร่างของกระดูกจะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะอยู่ในท่าที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือผิดรูปเมื่อเทียบกับข้างที่ไม่หัก การปฐมพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหัก จะแตกต่างกันไปตามแต่ละกรณีและต้องกระทำอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นอาจทำให้เจ็บปวดหรือเกิดอาการช็อกได้ง่ายๆ ซึ่งอาจเป็ดอันตรายต่อชีวิต หรือเกิดความพิการได้
ตัวอย่างการปฐมพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักที่ขา
                                Ø ขยับเขยื้อนบริเวณที่บาดเจ็บให้น้อยที่สุด จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายค่อยๆ เอาเสื้อผ้าออกจากบริเวณที่เป็นแผลถ้ามีบาดแผลเลือดออก ควรใช้ผ้ากดแล้วห้ามเลือดก่อน เพื่อให้หยุดไหลและสะดวกต่อการปฐมพยาบาลในขั้นต่อไป
                                Ø ให้จับขาข้างที่หักนิ่งไว้ แล้วจับขาข้างที่ดีมาวางชิดขาข้างที่หัก ผูกยึดชั่วคราวเพื่อสะดวกในการพลิกตัวเพื่อวางเฝือก โดยให้ผูกเปราะที่ ๑ ตรงตำแหน่งข้อเท้าเปราะที่ ๒ ทั่วเข่า และเปราะที่ ๓ ที่สะโพก
                                Ø เตรียมเฝือกที่มีความกว้างยาวเหมาะสมกับขา ถ้าเฝือกเป็นไม้ควรใช้ผ้ารองที่เฝือกก่อน และพลิกตะแคงข้างที่บาดเจ็บขึ้น เพื่อสอดเฝือกให้รองรับขาตั้งแต่ส้นเท้าจนถึงสะโพก
                                Ø แกะผ้าที่ผูกยึดขาทั้ง ๒ ข้างออกยกขาข้างที่หักพร้อมเฝือกขึ้นวางบนเข่าผูกยึดเฝือกติดกับขา ให้ปมผูกอยู่นอกลำตัวโดยผูกที่ข้อเท้า ชิดหัวเข่า และข้อสะโพก
                                Ø วางขาที่มัดติดกับเฝือกลงกับพื้น สอดผ้าระหว่างทั้งสองข้าง รวบขาทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งยกขึ้นตั้งบนเข่าแล้วผูกยึดขาทั้ง ๒ ข้างให้ติดกันที่ข้อเท้าเหนือเข่าเหนือเปราะเดิม สะโพกเหนือเปราะเดิม และปลายเฝือกบริเวณเชิงกราน
                                Ø กรณีกระดูกหักที่แขน เมื่อปฐมพยาบาลแล้วอาจจะใช่ผ้าสามเหลี่ยมเป็นที่คล้องแขนเพื่อปกป้องแผลอีกชั้นหนึ่งและช่วยพยุงไม่ให้ส่วนทีทมีบาลแผลเคลื่อนไหว ถ้าไม่มีผ้าสามเหลี่ยมหรือผ้าพันคอแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส ก็อาจจะใช่เข็มขัดเนคไท ผ้าพันแผลแบบม้วนแทนก็ได้ หรือถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ให้เอามือข้างที่หักสอดไปในเสื้อ โดยเปิดช่องตรงหน้าอกที่ติดกระดุม แล้วผูกติดกับลำตัวเพื่อลดการเคลื่อนไหว
                   3. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
                         3.1)การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว
                                ใช้ในกรณีที่เราพบผู้ป่วยคนเดียว และไม่สามารถที่จะหาผู้อื่นมาช่วยได้ เหมาะสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังสถานที่ที่อยู่ไม่ไกล ซึ่งมีด้วยกันหลายวิธี ดังนี้
                                1. วิธีพยุงเดิน   ใช้กับผู้ป่วยที่รู้สึกตัว ซึ่งมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
                                      ให้ผู้ช่วยเหลือยืนเคียงข้าง ผู้ป่วย หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน จับแขนข้างหนึ่งของผู้ป่วยพาดไว้ที่คอ มือผู้ช่วยเหลือข้างหนึ่งอ้อมไปด้านหลัง รัดบั้นเอวของผู้ป่วยไว้ และพาเดินไปทิศทางเดียวกัน
                                2. วิธีอุ้มกอดด้านหน้า
                                      วิธีนี้เหมาะสำหรับกรณีผู้ป่วยมีรูปร่างเล็กกว่าผู้ช่วยเหลือ และผู้ช่วยเหลือ และผู้ป่วยเดินไม่ได้ แต่ยังสามารถใช้ขาข้างใดข้างหนึ่งได้ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข้างหนึ่งใช้มือทั้งสองช้อนตัวผู้ป่วยขึ้นโดยใช้กำลังขาถ้าผู้ป่วยขึ้นโดยใช้กำลังขา ถ้าผู้ป่วยยังมีสติ ให้ใช้แขนด้านในคล้องคอผู้ช่วยเหลือไว้
                               3. วิธีอุ้มทาบและกอดหลัง
                                      หรือจะเรียกว่ากอดคอขี่หลังก็ได้ใช้ในกรณีที่คนเจ็บเดินไม่ได้ ข้อเท้าแพลงหรือข้อเท้าเคล็ด ซึ่งเป็นวิธีที่มักพบเห็นได้บ่อยๆมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
                                      ให้ผู้ป่วยยืนทาบด้านหลังและกอดคอของผู้ช่วยเหลือโดยผู้ช่วยเหลือย่อเข่าลงพร้อมสอดมือใต้เข่าของผู้ป่วยทั้งสองข้าง จากนั้นยึดฝ่ามือทั้งสองข้างของผู้ป่วยไว้
                                4. วิธีอุ้มแบก
                                      สำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวหรือรู้สึกตัวก็ได้แต่ไม่ใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังหักสามารถ ปฏิบัติได้ ดังนี้

      1. ก่อนเคลื่อนย้ายผู้ช่วยเหลือต้องตรวจดูล่างกายผู้ป่วยและจัดให้อยู่ในท่านอนคว่ำ
      2. ผู้ช่วยเหลือยืนคร่อมลำตัวผู้ป่วย เอามือดึงไหล่ผู้ป่วยขึ้นมา
      3. สอดแขนและมือใต้รักแร้ของผู้ป่วย แล้วประสานขึ้นมา
      4. ดึงตัวผู้ป่วยจากท่าคุกเข่าให้ยืนขึ้น มือข้างหนึ่งจับข้อมือผู้ป่วยไว้ อีกข้างโอบที่เอว
      5. ย่อตัวลงเพื่อให้ผู้ป่วยพาดอยู่ที่บ่าโดยใช้มือที่โอบเอวรวบเข่าทั้งสองข้างของผู้ป่วยไว้
      6. ผู้ช่วยเหลือยืนขึ้นใช้มือข้างหนึ่งจับขาบริเวณข้อพับมืออีกข้างยึดมือผู้ป่วยไว้
      7. ใช้มือข้างที่จับขาผู้ป่วยจับยืดข้อมือของผู้ป่วยไว้แล้วจึงพาเคลื่อนย้าย

                         3.2) การเคลื่อนย้ายโดยใช้ผู้ช่วยเหลือสองคน
                                ในกรณีที่ผู้ป่วยตัวใหญ่หรือมีน้ำหนักมาก จำเป็นต้องใช้ผู้ช่วยเหลือมากกว่าสองคนเคลื่อนย้ายซึ่งวิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยมากกว่า
                                1. วิธีอุ้มเคียง
                                      ผู้ช่วยเหลือจะต้องยืนด้านเดียวกัน โดยให้คนใดคนหนึ่งอุ้มบริเวณศีรษะและไหล่ ส่วนอีกคนอุ้มสะโพกและขา แล้วเดินออกพร้อม ๆ กัน
                                2. วิธีพยุง
                                    วิธีนี้จะต้องให้แขนทั้งสองข้างของ ผู้ป่วยพาดที่ไหล่ของผู้ช่วยทั้งสอง แล้วจับมือผู้ป่วยไว้ส่วนมืออีกข้างหนึ่งให้พยุงผู้ป่วยไว้
                                3. วิธีอุ้มแบกนั่งสองมือ ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคุกเข่าหันหน้าเข้าหากัน โดยให้ผู้ป่วยอยู่ตรงกลางผู้ช่วยเหลือใช้มือประสานกัน แล้วยกผู้ป่วยยืนขึ้นพร้อมๆกัน แล้วจึงพาเคลื่อนย้ายไปยังจุดหมาย
                                4. วิธีอุ้มคู่แบบใช้สองคนหามวิธีนี้จะในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บไม่รุนแรง และผู้ป่วยสามารถใช้ตนเองได้ โดยให้ผู้ช่วยเหลือทั้งสองลุกขึ้นพร้อมๆกัน วิธีนี้ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่สงสัยว่ากระดูกสันหลังหัก
                                5. วิธีอุ้มประสานแคร่ จะใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ยังมีสติดี ให้ผู้ช่วยเหลือสองคน ใช้มือสอดประสานกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมคุกเข่าลง และให้ผู้ป่วยนั่งบนมือของผู้ช่วยเหลือ โดยผู้ป่วยใช้มือทั้งสองข้างกอดคอผู้ช่วยเหลือไว้จากนั้นผู้ช่วยเหลือทั้งสองลุกขึ้นพร้อมกัน และพาเคลื่อนย้าย
                         3.3) การเคลื่อนย้ายโดยใช้ผู้ช่วยสามคน
                                การเคลื่อนย้ายในลักษณะนี้ใช้ในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในท่านอน และผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ระยะทางที่ต้องเคลื่อนย้ายจะต้องไม่ไกลมาก ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
                                      1. ผู้ช่วยเหลือ ยืนเรียงกันหันหน้าเข้าหาข้างตัวของผู้ป่วย จากนั้นคุกเข่าข้างใดข้างหนึ่งลง ควรเป็นเข้าข้างเดียวกัน โดยผู้ช่วยเหลือคนแรกใช้แขนข้างหนึ่งสอดใต้ศีรษะตรงบริเวณคอและไหล่ของผู้ป่วย มืออีกข้างเข้าสอดที่หลัง ส่วนคนที่สอดแขนข้างหนึ่งที่บริเวณเอวและสะโพก อีกข้างสอดเข้าที่ขาท่อนบน และคนที่สามสอดแขนข้างหนึ่งเข้าที่ใต้เข่า อีกข้างสอดที่ข้อเท้า
                                      2. ให้สัญญาณยกผู้ป่วยขึ้นพร้อมๆกัน โดยยังอยู่ในท่าคุกเข่า
                                      3. ให้สัญญาณยกผู้ป่วยขึ้นพร้อมๆกัน แล้วทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังจุดหมาย

                         3.4) การเคลื่อนย้ายโดยใช้เปลหาม
                                การเคลื่อนย้ายโดยใช้เปลหาม คือการขนย้ายในลักษณะให้ผู้ป่วยนอนราบ ซึ่งใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการช็อคหมดสติบาดเจ็บรุนแรงกระดูกขาหักหรืออื่นๆโดยจะต้องใช้ผู้ช่วยเหลือจะต้องหาวัสดุอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวมาใช้ดัดแปลงให้สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้
                         3.5) การเคลื่อนย้ายโดยใช้เก้าอี้
                                การเคลื่อนย้ายโดยใช้เก้าอี้ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกดี ซึ่งมีอยู่ด้วยกันสองวิธี คือ
                                Ø ให้ผู้ช่วยเหลืออยู่ด้านข้างของผู้ป่วย
                               Ø ให้ผู้ช่วยเหลืออยู่ด้านหน้าและด้านหลัง
                         โดยทั้ง 2 วิธีนี้ ควรยกให้ด้านหลังเอียงประมาณ 30 องศา และผู้ช่วยเหลือจะต้องเดินไปพร้อม ๆ กัน


กลับสู่ดานบน เข้าสู้เนื้อหา




© copyright 2009 students.ptpk.ac.th