หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
:: วัยรุ่นกับโภชนาการฯ
:: วัยรุ่นกับการดูแลนำ้หนักตัว
:: ตัวอย่างข้อสอบ

คำแนะนำ >> เลือกเรื่องย่อยของหน่วยการเรียนรู้เมนูด้านซ้าย


หน่วยการเรียรู้ที่ื ๓
การสร้างเสริมสุขภาพสมรรถภาพและการป้องกันโรค

วัยรุ่นกับโภชนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

วัยรุ่นกับโภชนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
                   อาหารและโภชนาการเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์  ที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง  มีภาวะโภชนาการที่ดี   เพราะการได้รับสารอาหารที่เพียงพอ  ไม่มากไม่น้อยเกินไป
                   การเรียนรู้ถึงหลักของโภชนบัญญัติจะทำให้เราบริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย   วัยรุ่นเป็นวัยที่เจริญเติบโตเร็วจึงควรบริโภคให้ถูกต้อง  เหมาะสมกับวัย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
                   อาหารและโภชนาการ
                         ๑. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ
                               การรับประทานอาหารนับเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรก  ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ทางโภชนาการและอาหาร  เพื่อจะได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  เหมาะสมกับร่างกาย   อันเป็นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
                                ๑.๑ ความหมายของอาหารและโภชนาการ
                                      อาหาร  หมายถึง   สิ่งที่รับประทานแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย  แต่หากสิ่งใดที่รับประทานเข้าไปแล้วไม่เกิดประโยชน์  จะไม่จัดว่าเป็นอาหาร  เช่น  เครืองดื่มแอลกอฮอล์  เป็นต้น
                                      โภชนาการ  หมายถึง   เนื้อหาที่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับอาหาร  ซึ่งเรียกว่า “วิทยาศาสตร์การอาหาร” ระหว่างอาหารกับกระบวนการที่เกี่ยวกับสุขภาพ และ
การเจริญเติบโต  
                                คุณค่าของอาหารต่อสุขภาพ

      1. ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต
      2. ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
      3. ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย
      4. ช่วยให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายทำงานได้ตามปกติ
      5. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย

                         ๒.  ภาวะโภชนาการ
                             ภาวะโภชนาการ  หมายถึง   สภาพหรือสภาวะของร่างกายซึ่งมาจากการบริโภคอาหารซึ่งร่างกายนำอาหารที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ต่างๆ  เช่นการเจริญเติบโต  ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  ตลอดจนช่วยให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานได้ตามปกติ

                                ๒.๑  ประเภทของภาวะโภชนาการ
                                      ๑)  ภาวะโภชนาการที่ดี   คือ  การที่ร่างกายได้บริโภคอาหารในปริมาณที่เพียงพอ  ถูกสัดส่วน หลากหลาย  เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย
                                      ๒)  ภาวะโภชนาการที่ไม่ดี  หรือภาวะทุพโภชนาการ  คือ  การที่ร่างกายบริโภคอาหารในลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย  ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภท  ดังนี้
                                            ๒.๑)  ภาวะโภชนาการต่ำ  หรือ ภาวะขาดสารอาหาร  หมายถึง  ภาวะที่เกิดจากการบริโภคอาหารไม่เพียงพอ  หรือได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย  ทำให้มีสุขภาพไม่แข็งแรง  อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆได้ง่าย
                                            ๒.๒)  ภาวะโภชนาการเกิน  หมายถึง  ภาวะที่เกิดจากการบริโภคอาหารหรือสารอาหารที่เกินต่อความต้องการของร่างกาย
                         ๓. โภชนบัญญัติและธงโภชนาการ
                                ๓.๑ โภชนบัญญัติ  ๙  ประการ
                                    โภชนบัญญัติ  เป็นข้อปฎิบัติการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ๙  ประการ  ดังนี้
                                      ๑. รับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและดูแลน้ำหนักตัว
                                      ๒. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก  สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
                                      ๓. รับประทานพืชผักให้มากและรับประทานผลไม้เป็นประจำ
                                      ๔. รับประทานปลา  เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน  ไข่  และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
                                      ๕. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
                                      ๖. รับประทานอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
                                      ๗. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด
                                      ๘. รับประทานอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน
                                      ๙. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ธงโภชนาการ
                   ธงโภชนาการเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อให้คนไทยเข้าใจถึงปริมาณและความหลากหลายของอาหารที่ควรรับประทานเพื่อให้มีสุขภาพดีตามหลักโภชนบัญญัติ  ๙  ประการ  โดยเน้นให้  “ กินพอดีและหลากหลาย ”  มีลักษณะเป็นธงสามเหลี่ยมแบบธงแขวนเอาปลายแหลมลง

643.png 

                         ๔. หลักการเลือกอาหารที่เหมาะสมกับวัย
                                อาหารที่จำเป็นสำหรับทุกคน ซึ่งแต่ละคนต่างมีความต้องการอาการทั้งในด้านปริมาณและสารอาหารที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละวัย โดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่การเจริญเติบโตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ครบ ๕ หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอกับร่างการต้องการ
                                ๔.๑ ประเภทของสารอาหารที่วัยรุ่นควรได้รับแต่ละวัน
                                      วัยรุ่นควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนทั้ง ๕ หมู่และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน โดยในอาหาร ๑ อย่างนั้น อาจประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นประโยชน์ต่องร่างกายมากกว่า ๑ ชนิด ซึ่งสารอาหารในแต่ละวันที่ควรได้รับ มีดังนี้
                         คาร์โบไฮเดรต ข้าวแป้ง น้ำตาล เผือก และมัน ประโยชน์
                                ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกายซึ่งคาร์โบไฮเดรต ๑ กรัม
ให้พลังงานประมาณ ๔ แคลอรี่ โปรตีน เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้ง ประโยชน์
                                      ๑. สร้างความเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้แก่ร่างกาย
                    ๒. ให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งโปรตีน ๑ กรัม ให้พลังงาน ๔ แคลอรี่
                         - ไขมัน ไข่มันต่างๆจากพืชและสัตว์ ประโยชน์
                                      ๑. ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
                  ๒. ช่วยป้องกักการกระทบกระเทือนของอวัยวะภายในร่างการ
                         - วิตามิน  แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท วิตามินที่ละลายไขมันได้แก่ วิตามินเอ และ วิตมินดี
ประโยชน์
                                      ๑. ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
                  ๒. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย
วิตามิน แบ่งออกเป็น  ๒ ประเภท      
                                            ๑) วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค วิตามินบี วิตามินซี แหล่งอาหาร ช่วยให้ร่างกาทำงานได้เป็นปกติ และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย
                                            ๒) เกลือแร่ แหล่งอาหารคือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไอโอดีน และโซเดียม ประโยชน์ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่ากายให้เป็นไปตามปกติ และช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมโครงสร้างของร่างกาย เช่น กระดูก ฟัน เลือด เป็นต้น
                                            น้ำ       ช่วยให้ร่างกายมีความชุ่มชื่น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดชื่น และช่วยในการย่อยและดูดซึมอาหารเข้าสู่ร่างกาย

                                ๔.๒ อาหารที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่น
                                   วัยรุ่นนอกจากจะรับประทานอาหารทีมีคุณค่าให้ครบ ๕ หมู่ หรือได้รับสารอาหารให้ครบ ๖ ชนิด ในแต่ละวัน คือต้องรับประทานอาหารให้หลากหลาย หรือที่เรียกกันว่า “กินให้พอดี” และ “กินให้ครบ” อาหารที่วัยรุ่นควรรับประทานในปริมาณที่เพียงพอนั้น มีดังนี้
                                    ๑) ควรดื่มนมวันละ ๑-๒ แก้ว อาจเป็นนมวัวหรือนมถั่วเหลืองก็ได้ สำหรับวัยรุ่นที่มีน้ำนักเกินควรดื่มนมจืดหรือพร่องมันเนย แต่ไม่ควรดื่มในขณะท้องว่าง ควรดื่มหลังมื้ออาหาร หรือรับประทานอาหารว่างร่วมไปกับการดื่มนม
                                      ๒) รับประทานเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ให้เพียงพอต่อร่างกาย สำหรับวัยรุ่นควรรับประทานอาหารทะเลอย่างน้องสัปดาห์ละ ๑-๒ ครั้ง และรับประทานเครื่องในสัตว์อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง
                                      ๓) รับประทานไข่ได้วันละ ๑ ฟอง แต่สำหรับวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักมาก ควรรับประทานเฉพาะไข่ขาว และหลีกเลี่ยงขนมที่ทำจากไข่แดง เพราะในไข่แดงนันจะมีคอเลสเทอรอลสูง ซึ่งในขณะเดียวกันก็ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
                                      ๔) รับประทานพืชผักผลไม้ต่างๆ ให้เพียงพอต่อร่างกาย ผักสีเขียวมีใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายโดยนำคอเลสเทอรอลและสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งออกจากร่างกาย ผักจะช่วยในการเจริญเติบโตและเสริมสร้างให้ร่างกายทุกระบบทำงานได้ตามปกติ โดยควรรับประทานอาหารทุกมื้อวันละประมาณ ๑ ถ้วยตวง
                                      ๕) รับประทานอาหารประเภทแป้งให้พอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย ข้าวที่จะให้สารอาหารแก่ร่างกายดีที่สุด คือ ข้าวกล้องหรือข้าวขัดสีแต่น้อย ซึ่งวัยรุ่นควรรับประทานข้าววันละ ๕-๖ ถ้วยตวง ให้รับประทานข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
                                     ๖) รับประทานอาหารที่ให้ไขมันพืชและสัตว์ให้พอเหมาะ ต่อร่างกายโดยวัยรุ่นควรรับประทานไขมันในปริมาณที่พอเหมาะไม่ควรเกิน ๓ ช้อนโต๊ะต่อวัน
                         ๔.๓ ปัญหาสุขภาพจากการรับประทนอาหารของวัยรุ่น  
                                การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาและงดอาหารบางมื้อ วัยรุ่นควรรับประทานให้ครบทั้ง ๓ มื้อ คือมื้อเช้า กลางวัน และเย็น และควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา เพราะร่างกายจะต้องใช้พลังงานจากอาหารเพื่อปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันในกรณีที่รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา กระเพาะอาหารจะทำการหลั่งน้ำย่อยออกมาโดยไม่ได้รับประทานอาหาร น้ำย่อยซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดจะกัดผนังกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลได้ การรับประทานอาหารรสจัด ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีผลทำให้เกิดการย่อยอาหารไม่เป็นไปตามปกติ และปวดท้อง ดังนั้นควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีรสจัดมากเกินเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ การใช้เนื้อสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อวัว ในการประกอบอาหาร อาจทำให้เกิดโรคพยาธิต่างๆ ได้ เพราะในเนื้อสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหารนั้นอาจมีพยาธิอาศัยอยู่ ซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพมาก
                                การดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ น้ำอัดลมโดยส่วนมากประกอบไปด้วย น้ำ น้ำตาล แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สารแต่งสี กลิ่น รส และคาเฟอีน ซึ่งหากได้ดื่มเป็นประจำร่างกายจะได้รับน้ำตาลมาก ทำให้มีระดับน้ำตาลสูงขึ้น อันจะนำไปสู่การเกิดโรคขาดสารอาหาร โรคฟันผุ และโรคอ้วนได้
.การรับประทานอาหารจานด่วน (Fast Food) ในปัจจุบันวัยรุ่นจำนวนมากนิยมรับประทานอาหารจานด่วน  เช่น  พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ แซนด์วิช เป็นต้น
                                การรับประทานอาหารจุบจิบ รับประทานจุ การรับประทานอาหารจุบจิบหรือการรับประทานโดยไม่พิจารณาถึงคุณค่าของอาหารและปริมาณอาหารที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไป เพราะฉะนั้นร่งกายก็จะได้รับอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล รงมถึงเกลือมากเกินความต้องการอนจะนำไปสู่การเป็นโรคอ้วนซึ่งมีผลทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้
                                ๕.๑ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องมีฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
                                      ผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องมีฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๙๔ พ.ศ. ๒๕๔๓ เรื่อง ”ฉลาก” กำหนดให้อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน อาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก และอาหารอื่นที่นอกเหนือจากอาหารกลุ่มดังกล่าวข้างต้น เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก
                                ๕.๒ ข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร
                                      ข้อมูลโภชนาการหมายถึง รายละเอียดต่างๆของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ผลิตและผู้นำเข้าหรือสั่งเข้าจะต้องแจ้งรายละเอียดนั้นต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะปรากฎอยู่บนฉลาก จะรู้จักอ่านและเข้าใจความหมายของข้อมูลทางโภชนาการจะช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกซื้อผลิตัณฑ์อาหารได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
                                      ข้อมูลที่ต้องการบนฉลากอาหาร
                                            ๑) ชื่อและประเภท หรือชนิดของอาหาร และสารระบบอาหารถ้ามี
                                            ๒) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้แบ่งบรรจุ สำหรับอาหารที่ผลิตในประเทศอาจแสดงชื่อและที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของผู้ผลิต หรือของผู้แบ่งบรรจุ หากเป็นอาหารที่นำเข้าต้องมีชื่อ ที่ตั้งของผู้นำเข้า และประเทศที่ผลิต แล้วแต่กรณี
                                         ๓) ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก
                                  - อาหารที่เป็นของแข็งให้แสดงน้ำหนักสุทธิ
                                  - อาหารที่เป็นของเหลวให้แสดงปริมาตรสุทธิ
                                  - อาหารที่มีลักษณะครึ่งแข็งครึ่งเหลวให้แสดงปริมาตรสุทธิ อาจแสดงเป็นน้ำหนักสุทธิ หรือปริมาตรสุทธิก็ได้
                                        - อื่น ๆ แสดงเป็นน้ำหนักสุทธิ
                                            ๔) ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละน้ำหนักของปริมาณ เรียงตามลำดับปริมาณจากมากไปน้อย เว้นแต่
                                  - อาหารที่มีเนื้อที่ของฉลากทั้งแผ่นน้อยกว่า ๓๕ ตร.ซม. แต่ทั้งนี้จะต้องมีข้อความแสดงส่วนประกอบที่สำคัญไว้บนหีบห่อของอาหารนั้น
                                  - อาหารที่มีส่วนประกอบที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่รวามถึงวัตถุเจือปนอาหาร วัตถุแต่งกลิ่น วัตถุปรุงแต่งอาหาร หรือสีผสมอาหารที่เป็นส่วนผสม
                                         ๕) ข้อความว่า ใช้วัตถุกันเสีย (ถ้ามีการใช้)

 

                                         ๖) ข้อความว่า เจือสีธรรมชาติ หรือ เจือสีสังเคราะห์ (ถ้ามีการใช้)แล้วแต่กรณี
                                          ๗) ข้อความว่า ใช้ เป็นวัตถุปรุงแต่งอาหาร (ที่เว้นไว้คือชื่อของวัตถุปรุงแต่งอาหารที่ใช้)
                                          ๘) ข้อความว่า ใช้ เป็นวัตถุที่ให้ความหวาแทนน้ำตาล
                                            ๙) วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ กำกับไว้ด้วยแล้วแต่กรณี
                                         - อาหารที่เก็บไว้ได้ไม่เกิน ๙o วัน ให้แสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ
                                          ๑๐) คำแนะนำในการเก็บรักษา
                                          ๑๑) วิธีปรุงเพื่อรับประทาน
                                          ๑๒) วิธีและข้อความที่จำเป็นหรือสำหรับอาหารที่มุ่งหมายจะใช้กับเด็กทารกเด็กอ่อน หรือบุคคลกลุ่มไดไว้โดยเฉพาะ
                                          ๑๓) ข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้ต้องมีสำหรับอาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศ กำหนด
                                ๒) ข้อมูลโภชนาการที่แสดงบนฉลากอาหาร สำหรับข้อมูลโภชนาการที่แสดงบนฉลาก
                                      ผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ข้อมูลจะแตกต่างกันตามกลุ่มอาหาร ดังนี้
                                            ๒.๑) กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย. แต่ต้องแสดงฉลากให้ถูกต้อง
                         ตัวอย่างฉลาก

      1. ชื่ออาหารเป็นภาษาไทย
      2. รูปภาพให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ ถ้ามี
      3. น้ำหนักสุทธิ หน่วยเป็นระบบเมตริก เช่น กรัม กิโลกรัม
      4. วัน เดือน ปี ที่ผลิต
      5. วันเดือนปีที่ควรบริโภค
      6. คำเตือน
      7. ชื่อที่อยู่ผู้ผลิต โดยมีคำว่า ผลิตโดย นำหน้า

                                            ๒.๒) กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย.
                                 ๑) กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่ไม่ต้องส่งตัวอย่างอาหารไปตรวจวิเคราะห์
                        - อาหารที่ต้องมีฉลาก (ยกเว้นไส้กรอก แหนม หมูยอ กุนเชียง ลูกชิ้น)
                        - ไส้กรอก แหนม ลูกชิ้น กุนเชียง หมูยอ และผลิตภัณฑ์จำพวกเดียวกัน
                                                  ๒) กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. และ
                                                  ๓) กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. และต้องส่งตัวอย่างอาหารวิเคราะห์ ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะทุกประเภท
                                      ข้อมูลโภชนาการ
                                            ดูที่หนึ่งหน่วยบริโภค ถ้ารับประทานตามปริมาณที่ระบุไว้ใน หนึ่งหน่วยบริโภค ก็จะได้รับพลังงานและสารอาหารต่าง ๆ ถ้าต้องการทราบว่าอาหารที่รับประทานอาหารเข้าไปนั้น ให้พลังงานเท่าไร ให้ดูตรง คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
ถ้าต้องการทราบว่าได้รับสาร เช่น ไขมัน แคลเซียม คิดเป็นร้อยละเท่าไร ให้ดูตรง ร้อยละและปริมาณที่แนะนำต่อวัน ถ้ารับประทานอาหารหมดกล่อง ก็จะได้รับพลังงานอาหารนั้นแล้วจะได้รับสารอาหารเท่ากับจำนวนตัวเลขที่แสดงอยู่ใน คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค โดยต้องสังเกตจำนวนหน่วยโดยจำนวนบริโภคต่อกล่อง  เลขสารบบอาหารในเครื่องหมาย อย.
                                            สารบบอาหาร คือ เลขประจำตัวผลิตภัณฑ์อาหาร ๑๓ หลัก แสดงอยู่ภายในเครื่องหมาย อย. โดยถูกนำมาใช้แทนตัวอักษรและตัวเลขในกรอบเครื่องหมาย อย. แบบเดิม ช่วยให้เจ้าหน้าที่ติดตามตรวจสอบได้ง่ายขึ้น โดยส่วนใหญ่เลขสารบบอาหารจะปรากฏอยู่บนฉลากของอาหารควบคุมเฉพาะ อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก แต่ก็จะมีอาหารบางชนิดที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว อาทิ เกลือบริโภค และอาหารกลุ่มที่มีระดับความเสี่ยงต่ำมาก ได้แก่ อาหารที่อยู่นอกเหนือกลุ่มอาหารที่อยู่ข้างต้น ที่ฉลากไม่ต้องแสดงเลขสารบบอาหารเพียงแค่ผลิตปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายอนุญาตในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ กำหนดเท่า สำหรับรายละเอียดของเลขสารบบอาหาร ๑๓ หลักนี้ จะแบ่งออกเป็น ๕ กลุ่ม
                   นอกจากนี้การแสดงสารระบบอาหรในเครื่องหมาย อย. ยังกำหนดให้ใช้ตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบ   มีขนาดไม่เล็กกว่า ๒ มิลลิเมตร  และสีของกรอบตัดกับสีพื้นของฉลากจากข้อมูลที่กล่าวข้างต้นจะเห็นว่ากฎหมายให้ความสำคัญต่อการใหผู้ผลิตแสดงข้อมูล ซึ่งผู้บริโภคควรต้องทราบข้อมูลที่ระบุฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิภัณฑ์อาหารที่มีความปลอดภัย  คุ้มค่า  และมีประโยชน์ที่สุดด้วยเหตุนี้ผู้บริโภคจึงควรใส่ต่อการอ่านและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ระบุบนฉลากสำหรับผู้บริโภคที่เคยพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารโดยพิจารณาเฉพาะเครื่องหมาย  อย.  ก็ควรหันมาใส่ใจอ่านข้อมูลบนฉลากประกอบการตัดสินใจซื้อด้วยเพราะจะทำให้มั่นใจในผลิตภัณฑ์อาหารนั้นได้มากขึ้นสำหรับผู้บริโภคที่พบเห็นผลิตภัณฑ์อาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้องสามารถแจ้งข้อมูลไปได้ที่หมายเลขโทรศัพท์  0-๒๕๙0-๗๓๕๔-๕  หรือทางสายด่วนผู้บริโภคกับ  อย.  หมายเลขโทรศัพท์  ๑๕๕๖  หรือทางเว็บไซต์  www.fda.moph.go.th
                                ๖. การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับวัยรุ่น
                            วัยรุ่นนอกจากจะต้องบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการแล้วยังจำเป็นที่จะต้องรู้จักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ  เช่น  เครื่องสำอาง   อาหารเสริม  และยารักษาโรค  ให้ถูกต้องเหมาะสมโดยมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น  เป็นอย่างดี  และที่สำคัญควรจะดูสัญลัษณ์ที่แสดงว่าผ่านการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  หรือหากมีปัญหาหรือข้อสงสัยก็ควรปรึกษาขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้
                                      ๖.๑ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ   
                                  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  เป็นคำที่สำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา(อย.)บัญญัติขึ้นใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่คาบเกี่ยว ระหว่างอาหารและยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่มีรูปร่างแตกต่าง จากอาหารปกติ  ในอดีต  อาหารกลุ่มนี้มักใช้ชื่อว่า”อาหารเสริม”
                                            ข้อเท็จจริงของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงของตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ดังนี้
                                            นมผึ้ง จากการศึกษาทางเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเมื่อรับประทานนมผึ้งจะทำให้เกิดฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย  ลดความดันโลหิต  ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
 ซุปไก่สกัด ประโยชน์ที่ได้จากซุปไก่คือโปรตีน  ซึ้งมีอยู่ประมาณร้อยละ๘.๘ของปริมาณที่บริโภคซึ้งราคาของผลิตภัณฑ์ในจำนวนเงินเท่ากันสามารถไปซื้อเนื้อสัตว์มาบริโภคได้ในปริมาณที่มากกว่า
 สาหร่าย  ยังไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันประสิทธิภาพที่แน่นอนสำหรับคุณค่าทางโภชนาการพบว่ามีโปรตีนร้อยละ ๖๐ แต่ถือเป็นโปรตีนคุณภาพต่ำมีกรดนิวคลีอิกร้อยละ ๔ ซึ้งมีอันตรายสำหรับผู้เป็นโรคเก๊าท์หรือมีแนวโน้มจะเป็นเก๊าท์
                                      ๖.๒  ยาลดความอ้วน
                                            วัยรุ่นมักมีความกังวลในเรื่องน้ำหนักของเองบางคนที่มีน้ำหนักเกินก็พยายามหาวิธีทำให้ตนเองมีน้ำหนักลดลงและเห็นผลอย่างรวดเร็วอาหารเสริมลดความอ้วนก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ได้ ดังนี้
                                            ๑. ทำให้เกิดอาการท้องเดินซึ่งส่งผลเสียต่อเยื่อบุกระเพาะอาหา รอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
                                            ๒. ส่งผลต่อระบบประสาทมีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการทำงาน
 ทำให้มีอาการใจสั่น  กระวนกระวาย  นอนไม่หลับ  และติดยาได้ในที่สุด
                                            ๓. ทำให้ได้รับสารอาหารไม้ครบถ้วนซึ้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคขาดสารอาหารได้ที่ดีหากต้องการลดความอ้วนไม่จำเป็นต้องใช้ยาควรหันมาเลือกรับประทานอาหารที่ให้แคลอรีต่ำแต่ได้สารอาหารครบถ้วนควบคู่ไปกับการออกกำลังกายจึงจะเป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่า
สรุป
                                      อาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการช่วยเสริมสร้างร่างกายให้มีการเจริญเติบโตและการมีสุขภาพที่ดีถ้าร่างกายได้รับอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมวัยตามหลักโภชนาบัญญัติตลอดจนรู้จักเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อความปลอดภัยต่อการบริโภคด้วยแล้วก็จะส่งผลให้ร่างกายมีภาวะโภชนาการที่ดีโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาลดความอ้วนแต่อย่างใดในทางตรงกันข้ามหากร่างกายได้รับอาหารที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมเกินความต้องการหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็จะส่งผลให้มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดีโดยมีทั้งภาวะโภชนาการเกินและภาวะโภชนาการต่ำซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้
คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้
                   ๑. อาหารมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างไร
                   ๒. นักเรียนมีวิธีการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับวัยได้อย่างไร
                   ๓. พฤติกรรมใดบ้างที่ส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการและภาวะทุพโภชนาการส่งผลใหเกิดปัญหาการเกิดโรคใดตามมา
                   ๔. โภชนบัญญัติ ๙ ประการ มีความสำคัญกับวัยรุ่นอย่างไรและหากไม่ปฏิบัติตามจะมีผลต่อสุขภาพอย่างไร
                   ๕. จงวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทยในปัจจุบันที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา

กิจกรรมสร้างสรรค์พัฒนาการเรียนรู้
                   กิจกรรมที่ ๑ ให้นักเรียนสำรวจข้อมูลลักษณะรูปร่างของนักเรียนทั้งชั้นว่ามีรูปร่างแบบใด ผอม  ปกติ  หรืออ้วน  แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำเป็นกราฟหรือแผนภูมิ
                   กิจกรรมที่ ๒  ให้นักเรียนทำแผ่นภาพโภชนาบัญญัติและธงโภชนาการแล้วนำไปติดที่ป้ายนิเทศในโรงเรียน

                               กิจกรรมที่ ๓  ให้นักเรียนคัดเลือกตัวแทนนักเรียนในชั้น ๓ คนให้ออกมาอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมในการเลือกบริโ




กลับสู่ดานบน เข้าสู้เนื้อหา




© copyright 2009 students.ptpk.ac.th