หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
>>วัยรุ่น
>>เพศกับวัยรุ่น
>>ความเสมอภาคทางเพศ
>>อารมณ์และความเครียด
>>เทคโนโลยีทางสุขภาพ์
>>สารสพติด
 
 

คำแนะนำ >> เลือกหน่วยการเรียนรู้ด้านบน>>เลือกเรื่องเมนูด้านซ้าย

สารเสพติด

                   1.  วงจรการแพร่ระบาดของสารเสพติด
โดยธรรมชาติของผู้ติดสารเสพติดส่วนมากมักจะเพิ่มปริมาณของสารเสพติดที่ใช้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องฝันตนเองจากผู้เสพไปเป็นผู้จำหน่ายสารเสพติด  เพราะต้องการหาเงินให้เพียงพอต่อการซื้อสารเสพติดมาใช้ในปริมาณที่มากขึ้นโดยใช้วิธีการขยายเครือข่ายให้มีผู้ติกดสารเสพติดรายใหม่  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อน  เมื่อเพื่อนติดสารเสพ  เสพติดลายใหม่ให้แก่เพื่อนรายต่อๆ ไปที่เพิ่งติดและจะเป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยๆ ทำให้ผู้ใช้สารเสพติดในลำดับต้นๆ เปลี่ยนบทบาทตนเองจากผู้เสพเพียงอย่างเดียวไปเป็นผู้ขายปันส่วน  ผู้ขายลายย่อย  ผู้ขายลายใหญ่  และผู้ขายส่งตามลำดับ
                   2. ความสำคัญและปัจจัยในการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         2.1 ความสำคัญของการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
ในอดีตสังคมจะประณามผู้ติดสารเสพติดว่าเป็นอาชญากร ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการทางกฎหมายกับผู้ค้าและผลิตสารเสพติดว่าเป็นผู้เจตนากระทำความผิด จึงสมควรได้รับการลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำลงไปอย่างไรก็ตาม ได้มีอีกแนวคิดหนึ่งที่กล่าวว่า “มนุษย์ไม่ได้เลวโดยสันดาน การกระทำความผิดอาจเกิดจากการคบเพื่อนไม่ดี ร่วมกับการได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาในสภาพไม่ดี” ดังนั้นสังคมควรให้โอกาสผู้ติดสารเสพติดกลับตัวกลับใจและช่วยเป็นกำลังใจไม่ให้ไปใช้สารเสพติดซ้ำอีก จึงกระทำให้เกิดพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ขึ้น ซึ่งกำหนดให้มีการปฏิบัติต่อผู้ติดสารเสพติดเหมือนผู้ป่วย มิใช่อาชญากร และให้ผู้ต้องหาเข้ารับการฟื้นฟูภายใน 3 ปี โดยไม่ต้องรับโทษ
แนวทางการดำเนินการดังกล่าว คาดหวังให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
                         1.  ให้โอกาสผู้ติดสารเสพติดได้กลับตัวกลับใจเป็นคนดี
                         2.  ลดการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่อาจมีศักยภาพช่วยพัฒนาประเทศได้
                         3.  ช่วยให้ผู้ติดสารเสพติดไม่ต้องมีประวัติด่างพร้อย ไม่ต้องถูกตราหน้าว่าเป็นคนขี้คุก
                         4.  ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสพสารเสพติด
                         5.  เมื่อผู้ติดสารเสพติดกลับตัวเป็นคนดี จะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมได้ในทางอ้อม
                         6.  ช่วยลดปัญหาผู้ต้องโทษล้นเรือนจำ และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเลี้ยงดูผู้ต้องโทษ เช่น ค่าอาหาร ค่าอุปโภคบริโภค ค่าเจ้าหน้าที่ที่ต้องมาดูแล เป็นต้น
                   2.2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         การฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
                                1.  ผู้ติดสารเสพติดต้องมีความรู้ความเข้าใจพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยมีความเข้าใจถึงเจตนาดีของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวที่ให้โอกาสผู้ติดสารเสพติดได้มีโอกาสปรับปรุงตนเอง
                                2.  ผู้ติดสารเสพติดต้องให้ความร่วมมือและมีความมุ่งมั่นในการเลิกสารเสพติด รวมถึงต้องตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะไม่กลับไปใช้สารเสพติดซ้ำอีกเมื่อพ้นจากการฟื้นฟูแล้ว
                                3.  ผู้ติดสารเสพติดต้องมีความยินยอมพร้อมใจที่จะเข้ารับการอบรมในกระบวนการฟื้นฟู เช่น การเข้าค่าย การถูกคุมประพฤติ เป็นต้น
                                4.  หากผู้เสพติดสามารถปฏิบัติตนได้ดังกล่าว ก็มิใช่เรื่องยากที่จะบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดให้หายเป็นปกติและสามารถกลับไปใช้ชีวิตกับคนทั่วไปในสังคมได้
                   3.  วิธีการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         3.1 รูปแบบการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                                1.  ชุมชนบำบัด หลักการสำคัญของรูปแบบนี้คือ เป็นการสร้างชุมชนจำลองให้ผู้เลิกสารเสพติดมาอยู่รวมกันเพื่อให้สมาชิกเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองได้โดยมีการเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกันรวมถึงให้ผู้ติดสารเสพติดอยู่ในส่งแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัยจากสารเสพติด
                                2.  การพื้นฟูผู้ติดสารเสพติดแบบเข้มข้นทางสายใหม่  รูปแบบนี้สถาบันธัญญารักษ์  กรมการแพทย์  กระทรงสาธารณสุข  ได้พัฒนาขึ้น  โดยมีแนวคิดนำครอบครัวให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดฟื้นฟูและจะเน้นการทำให้ผู้ติดสารเสพติดสามารถกลับไปมีสภาพร่างกายที่เข้มแข็งและมั่น
                                3.  การฟื้นฟูแบบ(ป่วยนอกตามรูปแบบกาย  จิต สังคมบำบัด  รูปแบบนี้เน้นการให้ความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ติดสารเสพติดและครอบครัว  โดยสอดแทรกผ่านกิจกรรมตลอกระยะเวลาที่ทำการบำบัด ซึ่งใช้เวลารักษา 1 ปี
                                4.  การบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดแบบจิตอาสา คือ การใช้บุคคลหลากหลายเป็นแนวร่วมในการต้านสารเสพติด  ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นบุคลากรทางแพทย์  อาจเป็นพระหรือครูที่ผ่านหลักสูตร  เวชศาสตร์  โรคติดยา   และผ่านการปฏิบัติภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญก็ได้
                                5.  โปรแกรมสำนักงานคุมประพฤติ  โดยกำหนดให้ผู้ติดสารเสพติดมารายงานตัวที่สำนักการคุมประพฤติ  พร้อมกับกำหนดให้ผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟู เข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถช่วยให้เลิกสารเสพติดได้สำเร็จ
                   3.2  องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         การจะบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดให้ได้ผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพนั้น  จะต้องดำเนินการแบบองค์รวม  กล่าวคือการให้การบำบัดทางกายของผู้ติดสารเสพติด  เพราะจะมีอาการข้างเคียงจากการเสพมาเป็นเวลานานทำให้สุขภาพร่างการทรุดโทรม  ให้การบำบัดทางจิต เป็นการให้กำลังใจ
                   3.3  ขั้นตอนในการฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         1.  ผู้ติดสารเสพติดลงทะเบียนด้วยความสมัครใจของเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู 
                         2.  สถานบำบัดดำเนินการคัดแยกเบื้องต้น  โดยการพูดคุยซักถาม  สังเกตอาการ  ใช้เครื่องมือวัด
                         3.  การทำให้ผู้ติดสารเสพติดเกิดความไว้วางใจ
                         4.  การตรวจสอบค้นหาความรู้สึกซ้อนเร้นภายในของผู้ติดสารเสพติด
                         5.  การฟื้นฟู  เป็นการรักษาทางจิตใจ
                         6.  เมื่อผู้ติดสารเสพติดผ่านกระบวนการรักษาทางกายและจิตใจควบคุมตนเองได้แล้ว  ก็นำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูจิตใจ
                         7.  การสร้างพลังร่วมระหว่างครอบครัว  ชุมชน และผู้ติดสารเสพติด
                         8.  ปฏิญาณตนเลิกสารเสพติดและสร้างพลังใจให้เข้มแข็ง
                         9.  การติดตามผลเพื่อคัดแยกผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู
                   4. แหล่งช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                         ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 หน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด คือ กรมคุมประพฤติ ส่วนหน่วยงานสนับสนุน คือ สำนักวานตำรวจแห่งชาติ กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กองทัพบก กองทัพเรือ กรมการปกครอง และกรมการแพทย์ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าว จำแนกตามลักษณะดำเนินงานดังนี้
                                1.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การจับกุมตัว เป็นต้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน่วยงานทั้งกองบัญชาการตำรวจนครบาลและกองบัญชาการตำรวจภูธรทั่วประเทศ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ส่วนหน่วยงานดำเนินการชะลอการฟ้องเป็นหน้าที่ของสำนักอัยการ
                                2.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ ได้แก่ กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
                                3.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เพื่อตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดสารเสพติดและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด มีทั้งสถานฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                   แบบเข้มงวด ได้แก่ กรมคุมประพฤติ และกองทัพอากาศ และสถานบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
                   แบบไม่เข้มงวด ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ กรมการปกครอง และกรมการแพทย์
                   หน่วยงานที่กล่าวมานี้ มีศักยภาพเพียงพอต่อการให้การช่วยเหลือรักษาผู้ติดสารเสพติด อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ต้องการเลิกสารเสพติดเอง เพราะหากมีจิตใจเข้มแข็งและมีจิตใจแน่วแน่ที่จะฉุดดึงตนเองให้หลุดออกจากความทุกข์ทรมานและความหายนะที่กำลังเผชิญอยู่ การเยียวยาก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้อย่างมาก

 

กลับสู่ด้านบน

 


© copyright 2009 students.ptpk.ac.th