หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
>>วัยรุ่น
>>เพศกับวัยรุ่น
>>ความเสมอภาคทางเพศ
>>อารมณ์และความเครียด
>>เทคโนโลยีทางสุขภาพ์
>>สารสพติด
 
 

คำแนะนำ >> เลือกหน่วยการเรียนรู้ด้านบน>>เลือกเรื่องเมนูด้านซ้าย

อารมณ์และความเครียด

                   1.  อารมณ์และความเครียดที่มีผลต่อสุขภาพ
                   อารมณ์  หมายถึง  กระบวนการของความรู้สึกตอบสนองขั้นต้นของจิตต่อสิ่งเร้าที่กระตุ้น ทางร่างกาย
                   ความเครียด  เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อจิตใจถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่ทำให้ตื่นเต้นหรือวิตกกังวล
                         1.1 ลักษณะอารมณ์และความเครียดของวัยรุ่น
                                วัยรุ่นอารมณ์จะแปรปรวนมาก  เนื่องจากวัยรุ่นมักจะมีอารมณ์รุนแรง  มีความเชื่อมั่นในตนเอง  และอาจมีความคิดขัดแย้งต่อผู้ใหญ่หรือบุคคลอื่นได้  โดยอาจมีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง   ดังนั้น  การรู้จักปรับตนเอง การเผชิญปัญหากับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งตั้งแต่วัยเด็ก  เพื่อเป็นการ ระงับ  บรรเทา  หรือขจัดความเครียด
                         1.2 สาเหตุของความเครียด
                                1) ภาวะด้านร่างกาย  เช่น  สุขภาพอ่อนแอ  ความเจ็บป่วย  ความพิการ
                                2) ภาวะด้านจิตใจ  เช่น  การสูญเสียสิ่งที่มีค่า  สิ่งที่รัก  ความคับข้องใจ
                                3) ภาวะด้านสิ่งแวดล้อม  เช่น  สภาพอุณหภูมิ  เสียงดังมากเกินไป  การสอบ
                         1.3 ลักษณะที่บ่งบอกเมื่อเกิดความเครียด
                                1) ด้านร่างกาย  เช่น  หายใจไม่ออก  เหนื่อยง่าย  นอนไม่หลับ
                                2) ด้านจิตใจ  เช่น  อาการหงุดหงิด  รำคาญ  เบื่อหน่าย  ท้อถอย
                         1.4 ผลของอารมณ์และความเครียดต่อสุขภาพ
                                ตามปกติควมเครียดภายในจิตใจจะส่งผลให้เกิดอาการทางร่างกาย  ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน  คือ  ปวดศีรษะ  นอนไม่หลับ  เหนื่อยง่าย  เป็นต้น  หากมีอาการผิดปกติดังกล่าว  ควรหาสาเหตุและรีบแก้ไขทันที    หากปล่อยให้ตนเองมีความเครียดสะสมไว้เป็นเวลานาน  โดยไม่ได้ผ่อนคลายจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้
                   2.ลักษณะอาการเบื้องตนของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต
                          ผู้มี “ สุขภาพจิต” หรือ “สุขภาพจิตปกติ”  จะมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
                                1.  รู้จักและเข้าใจตนเอง
                                2.  รู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น
                                3.  สามารถเผชิญปัญหาและความเป็นจริงของชีวิตได้ดี
                   ในขณะเดียวกัน   หากบุคคลใดมีอาการพฤติกรรม  หรือมีความรู้สึกตรงข้ามกับผู้ที่มีสุขภาพจิตดังกล่าวไปแล้วข้างตน  ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีภาวะความเครียดสูง
                   3.วิธีปฏิบัติตนเพื่อจัดการกับอารมณ์และความเครียด
                         3.1 การพักผ่อน   การพักผ่อนเปรียบเสมือนการทำให้สมองของเราได้ผ่อนคลาย  ถือว่าเป็นการฝึกจิตอย่างหนึ่งจะทำให้จิตใจสดชื่น   เกิดความสบายใจ   คลายความวิตกกังล
                         3.2 การนอนหลับ   การนอนหลับมีความสำคัญและจำเป็นต่อสุขภาพ  โดยผู้ใหญ่ต้องการเวลานอนหลับประมาณ 7-8 ชั่วโมง   สำหรับเด็กนั้นต้องการเวลานอนประมาณ 8-1o  ชั่วโมง
                                1) การประเมินพฤติกรรมในการนอนหลับ
                                      ถ้าง่วงนอนบ่อยๆแม้ว่าจะนอนมากเท่าไรก็ยังง่วง  ควรไปพบแพทย์  เพราะอาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพทางกายหรือจิตใจได้
                                2)  ข้อแนะนำเพื่อการนอนหลับที่ดี
                                      1. ก่อนเข้านอนควรทำจิตใจให้สงบ  และควรเข้านอนให้เป็นเวลา
                                      2. เข้านอนเพื่อการนอนหลับโดยตรง  ไม่ใช่เพื่ออ่านหนังสือ  เพื่อคิดเกี่ยวกับสิ่งที่กังวลอยู่  และห้องนอนควรจะเงียบปราศจากเสียงรบกวน
                                      3. หลีกเลี่ยงสารหรือสิ่งกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว
                                      4.การดื่มนม 1 แก้ว ก่อนเข้านอนจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
                                      5.ก่อนจะเข้านอนควรจะทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง
                         3.3 การออกกำลังกาย
                                การออกกำลังกายเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ช่วยลดความเครียด  และส่งเสริมความสามารถทางด้านสติปัญญาด้วย
                         3.4 การผ่อนคลาย
                                การผ่อนคลาย  หมายถึง  การหยุดพักชั่วคราวจากกิจกรรมประจำวันที่ปฏิบัติอยู่
                                      1) หลักการผ่อนคลาย  คือ  การพยายามที่จะให้กลุ่มกล้ามเนื้อบางกลุ่มของร่างกายตึงและหย่อนอย่างเป็นระบบ
                                      2) การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
                                            2.1) การเตรียมตัว  ให้นอนหงายหรือนั่งโดยมีบรรยากาศของสิ่งแวดล้อม
                                                  1) เงียบ และไม่ถูกรบกวน
                                                  2) พยายามฝึกปฏิบัติวันละ  2 – 3 ครั้ง
                                                  3)ให้แน่ใจว่าอยู่ในท่าที่สบาย
                                                  4) ให้ความคิดต่างๆ อยู่ในสภาวะของการผ่อนคลาย
                                            2.2) การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
                                                         1. การทำให้กล้ามเนื้อตึงโดยการบีบหรือเพิ่มความตึงไปสู่บริเวณกล้ามเนื้อ
                                                         2.การผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงนั้นอย่างรวดเร็ว
                                            2.3) การหายใจ  ควรทำให้การหายใจเป็นไปโดยอัตโนมัติ
                                      3) การฝึกปฏิบัติการผ่อนคลาย  คือ  กระบวนการหรือขั้นตอนของการฝึก ปฏิบัติการผ่อนคลาย
                                            1. นั่งบนเก้าอี้สบายหรืออยู่ในท่าที่รู้สึกสบาย  และหลับตา
                                            2. ระบายความเครียดให้เกิดขึนที่มือขวา
                                            3.ให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงเป็นเวลาประมาณ 5- 7 วินาที
                                            4.ลดความตึงของกล้ามเนื้อขึ้นลงเร็วๆ
                                            5.ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณแขนซ้ายตึงขึ้น
                                            6. ให้ความตึงของแขนซ้ายคงอยู่ประมาณ 5 – 7 วินาที
                                            7. ลดความตึงของกล้ามเนื้อแขนซ้ายลง   และทำกิจกรรมข้อ 5 – 7 ซ้ำอีก
                                            8. ทำให้ความตึงเกิดขึ้นที่บริเวณกล้ามเนื้อส่วนหน้าอก  หลัง  และไหล่
                                            9. ให้ความตึงของหน้าอกคงอยู่ประมาณ 5 – 7 วินาที
                                            1o. ค่อยๆ ผ่อนคลายส่วนกล้ามเนื้อที่ตึงนั้น
                                      4) หลักในการปฎิบัติเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
                                            1. ใช้ห้องหรือบริเวณที่รู้สึกสบายและเงียบสงบ
                                            2.นั่งหรือนอน  จากนั้นหายใจเข้าให้ลึกๆ  และหายใจออกอย่างเป็นระบบ
                                            3. ให้ความตึงของกล้ามเนื้อเกิดบริเวณแขน ขา
                                            4. ปฏิบัติการทำให้กล้ามเนื้อตึงและหย่อน
                                            5. มุ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกของตน
                                            6.หายใจออกในช่วงผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
                                            7. ฝึกปฏิบัติกับกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ เรียงตามลำดับ
                                            8.ประเมินสภาวะของร่างกาย
                                      3.5 การหัวเราะเพื่อคลายเครียด
                                            1. หัวเราะแบบธรรมชาติ  เกิดจากการกระตุ้นให้หัวเราะ
                                            2. หัวเราะแบบบำบัด  เป็นการหัวเราะแบบรู้ตัว
                                      3.6 การฝึกบริหารจิต
                                            1.กำหนดให้ร่างกายอยู่นิ่งๆในท่าใดก็ได้
                                            2.หลับตาพอสบาย
                                            3.ตั้งศูนย์กลางของจิตใจไว้ที่ลมหายใจโดยการจินตนาการ
                                            4.ให้ทำซ้ำตามที่กล่าวในข้อ 3 ไปเรื่อยๆ

กลับสู่ด้านบน


© copyright 2009 students.ptpk.ac.th