หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
>>วัยรุ่น
>>เพศกับวัยรุ่น
>>ความเสมอภาคทางเพศ
>>อารมณ์และความเครียด
>>เทคโนโลยีทางสุขภาพ์
>>สารสพติด
 
 

คำแนะนำ >> เลือกหน่วยการเรียนรู้ด้านบน>>เลือกเรื่องเมนูด้านซ้าย

ความเสมอภาคทางเพศ

สังคมยุคโลกาภิวัฒน์ที่ผู้คนดำเนินไปตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้บทบาทของชายหญิงได้รับการมองว่าต้องมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งสังคมไทยก็เปิดกว้างยอมรับค่านิยมแบบสากลนี้
ความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศ
                   ในปัจจุบันบทบาททางเพศระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในสังคมเปลี่ยนแปลงไปจาก
เดิม โดยเฉพาะในสังคมไทย ซึ่งแต่เดิมนั้นมองบทบาททางเพศของผู้ชายว่าอยู่ในฐานะ    “ ช้างเท้าหน้า ” และมองบทบาททางเพศของผู้หญิงว่าอยู่ในฐานะ “ ช้างเท้าหลัง ” นั่นคือ ให้บทบาทของผู้ชายเป็นผู้นำและบทบาทของผู้หญิงเป็นผู้ตาม
                   อาจกล่าวได้ว่าสังคมไทยแต่เดิมนั้นกำหนดความเสมอภาคทางเพศโดยเฉพาะประ
เด็นในเรื่องของการแสดงออกทางเพศอย่างไม่ค่อยเท่าเทียมกันนัก  เมื่อวัฒนธรรมตะวัน
ตกเข้ามาเผยแพร่ ค่านิยมหลายอย่างของเราก็ได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเป็นสากลซึ่งเรื่องความเสมอภาคทางเพศก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีการเรียกร้องให้มีการแก้ไข และก็สามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขด้านในหลายประเด็น
                   ดังนั้น ความเสมอภาคทางเพศ จึงหมายถึง การที่เพศชายและเพศหญิงมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงบทบาทของตนเองต่อสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่ต้องอยู่ภายในกรอบที่เหมาะสมของวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทย ในปัจจุบันสังคมไทยให้ความ สำคัญกับเรื่อง ความเสมอภาคทางเพศมากขึ้น โดยมองบทบาททางเพศของชายและหญิงว่ามีระดับที่เท่าเทียมกัน ไม่มีการกีดกันทางเพศ
                   ดังนั้น ความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศ จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจในบทบาททางเพศและการมีสัมพันธภาพที่เหมาะสมระหว่างชายหญิง โดยวัยรุ่นจะรู้สึกอ่อนไหวกับคำพูดที่เกี่ยวข้องกับบทบาททางเพศของตนเองมากขึ้น
                   โดยวัยรุ่นจะเลียนแบบพฤติกรรมซึ่งเป็นบทบาททางเพศจากบุคคลที่ใกล้ชิดกับตัว เอง กล่าวคือ วัยรุ่นชายจะเลียนแบบจากพ่อ พี่ชาย หรือญาติชายที่ใกล้ชิด ในขณะที่วัยรุ่นหญิงก็จะเลียนแบบจากแม่ พี่สาว หรือญาติสาวที่สนิท
การวางตัวต่อเพศตรงข้าม
                   การวางตัวต่อเพศตรงข้าม หมายถึง การที่เพศชายและเพศหญิงประพฤติปฏิบัติต่อ
กันและกัน เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างกัน ซึ่งในที่นี้จะขอนำเสนอแนวทางในการวางตัวต่อเพศตรงข้ามในสองสถานภาพ คือ ในฐานะเพื่อนและในฐานะคู่รัก
                   1.  การวางตัวต่อเพศตรงข้ามในฐานะเพื่อน  เมื่อชายหญิงคบกันในฐานะเพื่อน เราควรปฏิบัติตนต่อเพศตรงข้ามทั้งใน ด้านการพูด การแสดงกิริยา และการประ พฤติตัวด้านอื่นๆ ในลักษณะที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
                   2.  การวางตัวต่อเพศตรงข้ามในฐานะคู่รัก  เมื่อชายหญิงมีความสัมพันธ์กันในฐานะคู่รัก ก็ควรหาโอกาศได้เรียนรู้อุปนิสัย ความต้องการ ค่านิยม และความสนใจของกันและกัน เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพศตรงข้ามในฐานะคู่รักได้พัฒนาไปสู่ฐานะคู่สมรสอนึ่ง ในวัยหนุ่มสาว เพศชายและเพศหญิงจะมีแรงขับทางเพศมาก ซึ่งเป็น ไปตามธรรมชาติความใกล้ชิดกันมากเกินไป อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรได้
ปัญหาทางเพศ
                   ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของหลายๆคนก็คือปัญหาทางเพศซึ่งมีอยู่หลายลัษณะไม่ว่าจะเป็นความสับสนต่างๆ การมีความรักใคร่ชอบพอคู่รักที่เป็นเพศเดียวกับตน เป็นต้น
                   1.   ลักษณะปัญหาทางเพศ
                         สถานภาพทางเพศเป็นสิ่งที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่กำเนิด สถานภาพทางเพศก็อาจจะ
มิใช่ปัจจัยกำหนดความเป็นชายเป็นหญิงได้อย่างแท้จริงทั้งหมด เนื่องจากบุคคลบางกลุ่มอาจเกิดการเบี่ยงเบนทางเพศ ซึ่งสามารถจำแนกลักษณะปัญหาทางเพศได้ ดังนี้
                         1.  ความสับสนในความเป็นชายหญิง  จะเริ่มต้นในวัยเด็ก โดยเด็กผู้ชายอายุ 3-6 ปี
บางคนชอบเล่นตุ๊กตา ชอบแสดงท่าทางคล้ายผู้หญิง แต่พออายุ 12-13 ปี ความรู้สึกและการแสดงออกอย่างนี้อาจหายไปเลย
                         2.  ความเบี่ยงเบนทางเพศ ( Sexual Deviations ) คือ กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมทาง
เพศผิดปกติ ซึ่งแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
                                2.1 ) ปฏิเสธเพศ ( Transexual ) คือ ผู้ที่ไม่พอใจและไม่ยอมรับในเพศที่แท้จริงที่มี
มากำเนิด รวมทั้งมีความเชื่อว่าเพศที่ปรากฏทางร่างกายของตนไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเพศชายโดยชายเหล่านี้จะมีลักษณะท่าทางการแสดงออกเป็นเพศหญิง
                                2.2) รักร่วมเพศ ( Homosexual ) คือ ผู้ที่มีความพึงพอใจที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ได้แก่ ชายรักชาย และหญิงรักหญิง
                   1) ชายรักชาย หรือเกย์ ( Gay ) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เกย์คิง หมายถึง ผู้ที่แสดงบทบาททางเพศเป็นชายหรือฝ่ายกระทำเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ เกย์ควีน หมายถึง ผู้ที่แสดงบทบาททางเพศเป็นหญิงหรือฝ่ายถูกกระทำเมื่อมีเพศสัมพันธ์
                   2) หญิงรักหญิง หรือเลสเบี้ยน ( Lesbian ) คนไทยมีคำเรียกดั้งเดิมว่า อัญจารี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทอม หมายถึง การแสดงออกภายนอกมีลักษณะภายนอกเป็นชาย ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ ดี้ หมายถึง การแสดงออกภายนอกจะมีลักษณะเป็นหญิง
                                2.3) รักสองเพศ ( Bisexuality ) หมายถึง ผู้ที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิง ภาษาชาวบ้านนิยมเรียกว่า เสือไบ หรือพวกกระแสสลับ
แนวทางการแก้ไขปัญหาทางเพศ
                   เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้อง พ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงควรให้การดูแลเด็กดังนี้
                         1.  พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก เพราะหากพ่อแม่แสดงบทบาททางเพศไม่
เหมาะสม จะทำให้ลูกเกิดความเบี่ยงเบนทางเพศได้
                         2.  สนับสนุนให้วัยรุ่นทั้งเพศชายและหญิงแสดงเอกลักษณ์ทางเพศของตนเองให้
ถูกต้องและเหมาะสม
                         3.  สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทางเพศตามที่สังคมไทยและกรอบของขนบ
ธรรมเนียมวัฒนธรรมไทยได้กำหนดไว้พร้อมทั้งมีการส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าและความสำคัญของความเป็นเพศชายและเพศหญิง โดยอาจให้คำแนะนำและเสนอแนะกับเด็กที่เป็นวัยรุ่น ดังนี้
                                3.1  ยอมรับตนเอง โดยค้นหาและทำความรู้จักตนเองให้ได้ว่าตนเองคือใคร เป็นเพศชายหรือหญิง
                                3.2  เข้าใจธรรมชาติว่า เมื่อเกิดมาเป็นเพศชายหรือเพศหญิงแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยน แปลงได้
                                3.3  ภาคภูมิใจในเพศของตนเองและเห็นอกเห็นใจเพื่อนที่มีพฤกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
                                3.4  ส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านเพศศึกษา

กลับสู่ด้านบน


© copyright 2009 students.ptpk.ac.th