หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
>>การเจริญเติบโตและพัฒนาการฯ
>>ชีวิตและครอบครัว
>>การสร้างเสริมสุขภาพ
>>ความปลอดภัยในใชีวิต
 
 
 
 
 

คำแนะนำ >> เลือกหน่วยการเรียนรู้ด้านบเลือกเรื่องเมนูด้านซ้าย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ความปลอดภัยในชีวิต

ความปลอดภัยในชีวิต
ปัจจัยและแนวทางป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ
สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
3.1 สารปนเปื้อนในน้ำ (Water  Pollutants)
                สารพิษปนเปื้อนในน้ำ  เป็นผลมาจากแหล่งน้ำต่างๆทั้ที่สามารถระบุแหล่งผลิตได้โดยตรงได้แก่  ระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลต่างๆโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ และแหล่งที่ไม่สามารถระบุได้แน่นอน เช่น ในพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เขตเมือง   ดินที่ปนเปื้อนสารพิษต่างๆและสารพิษในชั้นบรรยากาศ  ซึ่งจะปนเปื้อนผิวน้ำโดยตรงและไหลซึมลงสู่น้ำใต้ดิน  ทำให้ปนเปื้อนน้ำใต้ดินสารพิษปนเปื้อนในน้ำสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างได้ดังนี้
1. การปนเปื้อนสารชีวภาพ 
เมื่อแหล่งน้ำถูกปรเปื้อนด้วยน้ำเสีย  เช่น  สิ่งขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์  น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรทลมทำให้เกิดโรคที่มีน้ำเป็นสื่อ  เกิดการเจ็บป่วยและตายได้จากเชื้อโรค  พาราสิต  แบคทีเรียและไวรัสด้สยโรคหลายชนิด ดังนี้

  • โรคท้องร่วง (Diarrhoea)   ซึ่งเป็นผลให้เป็นภาวะทุพโภชนา  ตัวซีด  เจริญเติบโตช้า  และเสียชีวิต
  • โรคริดสีดวงตา (Trachoma) เป็นการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับปัญหาความแห้งแล้ง  และขาดแคลนน้ำที่จะใช้ล้างมือ  ทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้า  ซึ่งทำให้มีการติดเชื้อที่ผิวหนังและตา

2. การปนเปื้อนสารเคมี
โรงงานอุตสาหกรรมและการเกษตรกรรมได้นำสารเคมีมาใช้ในกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  เช่น

  • สารหนูที่พบในกิจกรรมการถลุงร่ การเผาไหม้ถ่านหรือไม้  เมื่อได้รับสารหนูอย่างเรื้อรังอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง หรือ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดฝอย
  • ตะกั่วที่อาจละลายออกมาจากท่อส่งน้ำ   โรงงานผลิตแบตเตอรี่

3. การปนเปื้อนสารรังสี
สารรังสี เช่น แก็สราดอนที่เป็นผลผลิตจากการสลาทยตัวของธาตุยเรเนียม  และสามรถไหลเข้าสู่งแหล่งน้ำตามธรรมชาติได้  และเข้าสู่ร่างกายโดยการดื่มน้ำที่มีสารรังสีปนเปื้อน  หรือนำน้ำที่ปนเปื้อนสารรังสีไปใช้ชำระล้างภาชนะหรือผักผลไม้ที่รัยชบประทาน
3.2  สารปนเปื้อนในอาหาร (Food  Pollutants)
1. เชื้อโรค (Pathogens Hazards)  เชื้อโรคที่พบในอาหาร  ประกอบด้วยเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเบเอ  เชื้อแบคทีเรีย เช่น ซิเจลลา  อหิวาห์  พิษจากแบคทีเรีย (toxins) เช่น สแตฟิโลคอคคัสออเรีย  เชื้อบาดทะยัก และปรสิต เชื้อโรคต่างๆเหล่านี้มีปะปนอยู่ทั่วปในสิ่งแวดล้อมและสามารถเข้าสู่อาหารได้หลายทาง เช่น ไก่ที่ติดเชื้อโรคแซลมอเนลลา  สามารถปล่อยเชื้อโรคนี้ไปยังไข่ไก่  ก่อนที่เปลือกไข่จะสร้างเสร็จสมบูรณ์
2. สารพิษ (Toxic  Hazards) สารพิษในอาหารสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้  3  กลุ่ม คือ
1. สารเคมีตกค้างที่ใช้ในการเพราะปลูก  การเลี้ยงสัตว์  การจัดเก็บ  และกระบวนการผลิตอาหาร เช่น ยาฆ่าแมลง
2. สี  กลิ่น  หรือสารเคมีอื่นๆ  ที่ผู้ผลิตจงใจใส่ในกระบวนการผลิตอาหาร เช่น ผลชูรส  ซัลไฟด์  เป็นต้น
3. สารเคมีที่ไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอาหาร ได้แก่ สารพิษ  จากเชื้อรา (Aflatoxins)  ไนไตรต์ (Nitrites) โลหะหนักประเภท ปรอท และ สาร DDT      
3.3 สารปนเปื้อนในอากาศ (Air Pollutants)         
1. มลพิษอากาศในอาคาร (Indoor Air Pollutants)  เกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อโรค เช่น  เชื้อไวรัส และสารเคมีต่างๆ เช่น แก็สคาร์บอนมอนนอกไซด์  ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงต่างๆ และจากการสูบบุรี่  สารตะกั่วจากสีทาบ้าน  แอสเบสตอสที่ถูกนำมาใช้ในงานก่อสร้างอาคารต่างๆ สาเคมีกำจัดศัตรูพืช  สารปรอท  แก็สราดอน เป็นตัว
2. มลพิษอาการภายนอกอาคาร (Our Indoor Air Pollutants)  มักเป็นปัญหาในเขตเมืองที่ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น  มีการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงต่างๆ สูง จากโรงงานอุตสาหกรรมและการใช้รถยนต์ซึ่งพบว่ามีสารพิษปนเปื้อนในอาการ  เช่นคาร์บอนมอนอกไซด์  และสารพิษต่างๆ
3.4 สารปนเปื้นในดิน (Soil Pollutants) 
ดินเป็นแหล่งอาศัยของพยาธิและเชื้อโรคหลายชนิด เช่น เชื้อบาดทะยัก ดังนั้นสารปนเปื้อนในดินสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากการสัมผัสดิน  หรือฝุ่นที่มีการปนเปื้อนของไข่พยาธิ  ทำให้เกิดโรคพยาธิลำไส้ หรือสารเคมีที่เป็นพิษปนเปื้อนบนดิน  ทำให้เกิดการปยเปื้อนอยู่กับพืชผักที่ปลูกในดินเป็นอันตรายเมื่อบริโภคพืชเหล่านั้น
แนวทางป้องปัญหาเสี่ยงต่อสุขภาพ

  • เลือกอยู่อาศัยในบ้านที่ถูกลักษณะ
  • มีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่ถูกลักษณะ
  • อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง และสภาพแวพล้อม
  • มีการกำจัดขยะและน้ำเน่าเสียรอบๆ บริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอย่างถูกสุขลักษณะ

สรุป
                    เมื่อประเทศชาติได้รับการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี ทำให้มีความเจริญอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันการพัฒนาเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสื่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย อากาศเป็นพิษเกิดโรคภัยไข้เจ็บจากมลพิษและสารปนเปื้อน
                   การเลือกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางกาย จิต อารมณ์ และสังคม จึงควรเริ่มจากตัวเรา  โดยการดูแลสุขภาพสิ่งแวดล้อมในบ้านให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ  ให้ความร่วมมือและมีส่วรร่วมในการดูแลปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลย้อนกลับให้เรามีสุขภาพที่ดีตามไปด้วย
แนวทางการปฏิบัติตนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรง
                ความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงในหมู่ของวัยรุ่นอาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้   แต่ไม่ควรแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรง จึงมีข้อเสนอแนะทางเลือกที่นักเรียนสามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้กับนักเรียนหรือเพื่อนของนักเรียน  ดังนี้
                1. การประนีประนอม  เป็นวิธีการแก้ไขที่น่าสนใจเข้ากับวัฒนธรรมคนไทยที่ชอบความประนีประนอม
มีความยืดหยุ่น   เป็นสายกลางในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นให้พูดคุยเจรจายอมความโดยสันติวิธี  ช่วยกันหาเหตุผลในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
                2. การเผชิญหน้า  เป็นวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ได้ผลดี  มีอะไรสงสัยไม่เข้าใจจะได้พูดคุยสอบถามกันให้เข้าใจ  แต่ต้องใช้วิธีการพูดคุยเจรจาอย่างสุภาพ  และด้วยความมีเหตุผล  อย่าใช้อารมณ์หรือจบลงด้วยการใช้กำลัง หรือ การใช้ความรุนแรง ในการตัดสินปัญหา  ข้อดีของการใช้วิธีนี้ คือ เป็นการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
                3. การขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่สาม  เป็นทางเลือกวิธีสุดท้ายเมื่อคู่กรณีไม่ยอมประนีประนอม หรือ ไม่ต้องการพูดคุยปรับความเข้าใจผิดต่อกัน  ในกรณีนี้มีความทรงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่สาม  ที่มีอำนาจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับคู่กรณี  ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง  เช่น ขอความช่วยเหลือจากคุณครู  พอแม่  เพื่อน  รุ่นพี่  เป็นต้น
ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อความปลอดภัยเกี่ยวกับความรุนแรง
ชนิดของความรุนแรง
-ความรุนแรงในชุมชน  (Community  Violance) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นตามที่สาธารณะ (  บนรถโดยสารประจำทาง  สวนสาธารณะ  ป้ายรถเมล์  บนสะพานลอยข้ามถนน  )  เช่น  การฆาตกรรม  การยิงกัน  การปล้น  การวางระเบิด  การลักพาตัว  เป็นต้น
-ความรุนแรงในสถาบันการศึกษาหรือความรุนแรงในโรงเรียน  (  Institutional Violance or School  Violance  )  เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถาบันการศึกษาหรือโรงเรียน  ( ห้องเรียน  สนามฟุตบอล  โรงยิม  ห้องน้ำ )  เช่น  การข่มขู่กรรโชกทรัพย์  การชกต่อย  การพูดจาเยาะเย้ย  ถากถาง  ดูหมิ่น  เสียดสี หรือ ล้อเลียนปมด้อยของเพื่อน  เป็นต้น
-ความรุนแรงทางเพศ  ( Sexual  Violance ) เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชายและหญิง ซึ่งเป็นเหยื่อของการถูกข่มขืนให้มีเพศสัมพันธ์ด้วยการใช้กำลังบีบบังคับ
-การลวนลามทางเพศ ( Sexual  Harassment ) เป็นความรุนแรงโดยใช้คำพูด หรือ แสดงพฤติกรรมเล้าโลมทางเพศ  ทำให้เกิดความรำคาญใจ  หรือ เสื่อมเสียชื่อเสียง  เช่น  พูดจาสองแง่ ทำให้เข้าใจในทางลามก  พูดตลกทะลึ่งสัปดน  แตะต้องสัมผัสร่างกายโดยเจตนา
-ความรุนแรงในครอบครัว  ( Domestic  Violance )  เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว  มีการทำร้ายทางร่างกาย  ทางจิตใจ  หรือ  ทางวาจา  เช่น การทำร้ายคู่ครอง  การทำทารุณกรรมเด็ก  เด็กถูกทอดทิ้ง  การทำร้ายเด็กทางเพศ  การทำร้ายผู้สูงอายุ  เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงต่อคามปลอดภัยเกี่ยวกับความรุนแรง
                ความรุนแรงเกิดขึ้นโดยผู้กระทำการรุนแรงมีเจตนาหรือความตั้งใจทำร้ายผู้ประสบความรุนแรง หรือ ผู้เคราะห์ร้าย  ดังนั้นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยเสี่ยงต่อความปลอดภัยเกี่ยวกับความรุนแรงจึงต้องมองถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมความรุนแรง  ปัจจัยของการเกิดปัญหาความรุนแรงรวมไปถึงกระบวนการเกิดความรุนแรง  แล้วจึงย้อนมองว่าความรุนแรงมีปัจจัยเสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่างไรบ้าง

  • ปัจจัยสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมความรุนแรง

-ความเครียด  เหตุการณ์เครียดในชีวิตซึ่งอาจเกิดจากปัญหาชีวิต  การเงิน  การเรียน หรือ ความรัก 
-มีประวัติอยู่ในครอบครัวที่มีการอบรมเลี้ยงดูด้วยการใช้ความรุนแรง
-มีความขัดแย่งระหว่างบุคคล  หรือ  ภายในครอบครัว
-พ่อแม่ตั้งความคาดหวังจากลูกมากเกินไปและพยายามบังคับให้ลูกทำให้สำเร็จ
-มีอารมณ์โกรธรุนแรง
-มีความควบคุมตนเองได้ไม่ดี
-วิตกกังวล  เศร้าหมอง
-เก็บกดทางอารมณ์  ก่อให้เกิดความตึงเครียดซึ่งเป็นผลของการกระทำรุนแรง

  • ปัจจัยเสี่ยงต่อความปลอดภัยเกี่ยวกับความรุนแรง

1.ขาดการควบคุมตนเอง  เมื่อมีความรู้สึกไม่พอใจหรือโกรธ  เกลียด  ผิดหวัง
2.ชอบใช้กำลังกายเพื่อระบายอารมณ์โกรธ  เมื่ออยู่ในสถานการณ์ถูกข่มขู่หรือถูกคุกคาม
3.ชอบใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับกลุ่มเพื่อน อันธพาล  ที่นิยมความรุนแรง
4.ทำตัวเป็นหัวหน้ากลุ่มหรือรวมกลุ่มสมาชิกคอยช่วยเหลือปกป้อง  เพื่อนในกลุ่มจากเพื่อนกลุ่มอื่นหรือเพื่อนโรงเรียนอื่น
5.ชอบเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสถานที่หรือแหล่งที่มีการทะเลาะวิวาท  ต่อสู้
6.ชอบพกอาวุธ  เช่น  สนับมือ หรือมีด  เพื่อป้องกันตนเองและพวกพ้อง
7.มีนิสัยชอบต่อสู้  ชกต่อย  แสดงการเอาชนะด้วยการใช้กำลัง
8.ถูกขู่กรรโชกทรัพย์  ถูกทำร้ายขณะอยู่ในโรงเรียน  หรือ ถูกทำร้ายโดยคู่ครอง บุคคลในครอบครัว
9.ถูกบังคับให้มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ยินยอม  รวมทั้งถูกขู่กรรโชก  ลวนลามทางเพศ
พฤติกรรมเสี่ยงต่อความปลอดภัยเกี่ยวกับความรุนแรง
                พฤติกรรมความรุนแรง  (Violent  Behavior) เป็นการแสดงออก หรือ การกระทำ เมื่อเกิดอารมณ์เศร้าหมอง  เครียด  อยู่ภายใต้สถานการณ์บีบคั้น  คุกคามและกดดัน  ทำให้มีการทำร้ายทางกาย ทางใจ  ทางคำพูด หรือ ทางเพศ  เช่น เตะ ต่อย ทุบตี ขู่กรรโชก ดุ ด่า ตะคอก  พูดจาเสียดสี  ดูหมิ่นดูแคลน  กีดกันหรือจำกัดเสรีภาพ  เป็นผลให้ผู้ประสบความรุนแรงได้นับความกระทบกระเทือนทั้งทางกายและทางใจ 
-ความรุนแรงต่อตนเอง
-ความรุนแรงต่อเด็ก
-ความรุนแรงต่อครอบครัว
วิธีป้องกันหลีกเลี่ยงปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อความปลอดภัยเกี่ยวกับความรุนแรง
                การเสริมสร้างทักษะชีวิต (Life Skills) เป็นกลวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ป้องกันพฤติกรรมความรุนแรงได้
                ทักษะชีวิต  เป็นความสามารถในการปรับตัวและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเพื่อจัดการกับความต้องการและสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นในชีวิต  โดยสามารถเลือกทางเดินชีวิตที่เหมาะสมในการเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รวมทั้งปัญหาพฤติกรรมความรุนแรงด้วย

  • องค์ประกอบของทักษะชีวิตในประเทศไทย มี 12 ประการ  ได้แก่

1.การตัดสินใจ
2.การแก้ปัญหา
3.ความคิดสร้างสรรค์
4.ความคิดวิเคราะห์
5.การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
6.ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
7.ความตระหนักในตนเอง
8.ความเห็นใจผู้อื่น
9.การจัดการกับอารมณ์
10.การจัดการกับความเครียด
11.ความภูมิใจในตนเอง
12.ความรับผิดชอบต่อสังคม

  • ทักษะชีวิต  3  องค์ประกอบที่สามารถสร้างเสริมภูมิต้านทานต่อการเป็นผู้กระทำพฤติกรรมความรุนแรง  ดังนี้

1.ทักษะการแก้ปัญหา
2.ทักษะการจัดการกับอารมณ์
3.ทักษะการสื่อสาร

อิทธิพลของสื่อต่อสุขภาพและความรุนแรง อินเทอร์เน็ต

ความปลอดภัยในชีวิตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาขนทุกคนควรได้รับ อันตรายที่เกิดขึ้นมีทั้งแบบที่มาโดยเปิดเผย เช่น อุบัติเหตุ แต่อัตราบางประเภทมีความสลับซับซ้อนมาก เช่น ภัยจากสื่อ โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายจากสื่อประเภทต่างๆทั้งสื่อโฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออินเตอร์เน็ต เพื่อจะได้สามารถวิเคราะห์เลือกใช้สื่อที่ปลอดภัย และมีแนวทางการปฏิบัติตน ในการป้องกันภัยที่เกิดขึ้นได้
 1.สื่อโฆษณาและอินเตอร์เน็ต
                1.1 สื่อโฆษณา  สื่อโฆษณาเป็นเครื่องมือการติดต่อสื่อสารซึ่งทำหน้าที่ส่งข่าวสารจากแหล่งข่าวสาร โดยผู้ส่งข่าวไปยังผู้รับข่าว สื่อโฆษณาแบ่งเป็นหลายประเภทดังนี้
                1.สื่อกระจายเสียง เช่น โทรทัศน์ วิทยุ
                2.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น นิตยสาร หนังสือ จดหมาย
                3.สื่อนอกสถานที่ เช่น การโฆษณากลางแจ้ง การโฆษณาเคลื่อนที่
                4.สื่อการตลาดทางตรง เช่น การแนะนำหรือโฆษณาสินค้า
                5.สื่ออื่นๆ เช่น โฆษณาก่อนหนังฉายในโรงภาพยนตร์
 1.2 สื่ออินเตอร์เน็ต  อินเตอร์เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เกิดขึ้นจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก การรวมกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารแลแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
2.สื่อที่อาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยในชีวิต  สื่อมีหลายชนิด เช่น ภาพนิ่ง ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ โฆษณา นอกจากมี่ผู้นำสื่อมาใช้ในทางลบ เพื่อมีเจตนาก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน  ในปัจจุบันสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมใช้ในการนำเสนอเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ให้ปะชาชนให้รับทราบ ดังนั้นจึงได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสื่ออินเตอร์เน็ตคือ การแสวงหาผลประโยชน์ทุกรูปแบบจากเด็ก การขโมยข้อมูลบัตรเครดิต การเผยแพร่หรือส่งภาพโป๊ ภาพลามก โฆษณาผ่านเว็บไซด์
3.แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันตนเองจากสื่อที่ไม่ปลอดภัย
3.1การป้องกันตนเองจากสื่อโฆษณาที่ไม่ปลอดภัย  สื่อโฆษณาที่ไม่ปลอดภัย เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับยารับประทานลดความอ้วนเห็นผลเร็วภายในหนึ่งสัปดาห์สามารถลดได้สิบกิโลโดยไม่ต้องควบคุมเรื่องอาหาร หรือ นิตยาสารที่มีภาพโป๊และมีเรื่องราวเกี่ยวกับการร่วมเพศอย่างชัดเจน โดยมีแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันตนเองจากสื่อโฆษณาที่ไม่ปลอด
1.เมื่อมีปัญหาเรื่องสุขภาพหรือปัญหาชีวิตควรปรึกษาพ่อแม่ ครู หรือ เพื่อน
2.ก่อนตัดสินใจเชื่อตามคำโฆษณาควรตรวจสอบข้อเท็จจริงและหาข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าเชื่อถือได้หรือไม่
3.หลีกเลี่ยงการซื้อหรืออ่านสื่อที่ไม่ปลอดภัยควรใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ เพราะเป็นการช่วยให้ห่างไกลากการปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ
3.2การป้องกันตนเองจากความไม่ปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต
1.ไม่ควรบอข้อมูลส่วนตัวของตนเอง เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ชื่อ โรงเรียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อพ่อแม่ สถานที่ทำงาน เป็นต้น
2.ไม่ควบนัดพบกับบุคคลที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต และควรบอกพ่อแม่ให้รับทราบ
3.ไม่ควรให้รูปถ่ายกับคนที่ติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต เพราะอาจนำไปทำสิ่งไม่ดีและเสื่อมเสียได้
4.ไม่ควรตอบข้อความสนทนา ซึ่งมีลักษณะการพูดจาชวนคุยเรื่องเพศ เรื่องลามกสุภาพ เรื่องการทำสงคราม ก่อการร้าย การข่มขู่
5.ระวังบุคคลที่เสนอสิ่งของ เช่น การได้รับรางวัลเป็นเงิน อุปกรณ์เรื่องใช้ หรือของขวัญอื่นๆ  โดยอาจจะเป็นพวกหลอกลวง
6.ผู้ปกครองควรตั้ง กฏ กติกาในการเล่นอินเทอร์เน็ต เช่นวันละกี่ชั่งโมง เล่นได้ช่วงเวลาใด เป็นต้น
7.ระมัดระวังบุคลที่ติดต่อทางอินเทอร์เน็ต เพราะอาจไม่ได้บอกความจริงและการแนนำตัวซึ่งเราไม่สามารถพิสูจน์ได้
8.รหัสผ่าน ในการใช้อินเทอร์เน็ตยกเว้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง
สรุป
สื่อกับความปรอดภัยในชีวิตได้เน้นให้เห็นถึงภัยที่เกิดจากสื่อโฆษนาและอินเทอร์เน็ต  เนื่องจากความปลอดภัยในชีวิตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ  ดังนั้น  การพัฒนาความสามารถในการเลือกวิเคราะห์และใช้สื่อที่ปลอดภัยจึงเป็นประโยชน์ต่อตนเอง  ทำให้ผู้ปกครองสบายใจ  และ  ได้รู้ถึงคุณค่าและแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันตนเองจากสื่อที่ไม่ปลอดภัยสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
เรื่อง ความสัมพันธ์ของการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพและการเกิดอุบัติเหตุ
สารเสพติดเป็นภัยต่อบุคคล ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ การเรียนรู้ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสารเสพติด โดยการสร้างองค์กรความเข้มแข็งของครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรสร้างและสนับสนุนไปอย่างพร้อมๆ กันในทุกระดับ เพื่อให้เยาวชนห่าง ไกลและรู้จักป้องกันตนเองรวมทั้งสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย
สาเหตุที่วัยรุ่นใช้สารเสพติด
วัยรุ่นที่ใช้สารเสพติดมักจะมีข้ออ้างในทางที่ดีจากมุมของตนเอง ดังนี้
1.ใช้แล้วเกิดความรู้สึกที่ดี เช่น สบายใจ โล่งใจ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดมาก ลืมความทุกข์เป็นต้น
2. เพื่อหลีกหนีโลกแห่งความเป็นจริง
3. เพื่อหลีกหนีความปล่าวเปลี่ยว ความเบื่อหน่าย เช่น  อกหัก ถูกทอดทิ้ง
4. เพื่อหลีกหนีความยากจนหรือความไม่มั่นคงในชีวิต
5.เพื่อชดเชยกับการขาดความอบอุ่นในครอบครัว  เพื่อนฝูง
6. เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ใกล้ชิด
7. เพื่อสามารถเข้ากันกับกลุ่มเพื่อนได้ เช่น การเรียนแบบเพื่อน
                                8.เพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็น
                                9. เพื่อป้องกัน รักษาโรคที่กำลังเจ็บป่วย
                                10. เพื่อช่วยให้เล่นกีฬาได้ดีขึ้น
                                11. เพราะมีผู้แนะนำให้ใช้ ทดลอง
                                12. เพราะไม่สามารถปฏิเสธได้ เช่น ถูกเพื่อนคะยั้นคะยอ
                2. การพิจารณาผลกระทบต่อพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้ยาและสารเสพติด
                                การพิจารณาผลกระทบของยาที่ใช้ต้องพิจารณาดูหลายๆปัจจัย ไม่ใช่ดูที่ชนิดของยาเพียงอย่างเดียวแต่ต้องคำนึงถึงคุณลักษณ์ส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม
                1.ผลกระทบของยา  มีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาที่ต้องใช้คือ
                                1.1 คุณสมบัติทางเคมี
                                1.2จำนวนปริมาณที่ใช้
                                1.3การใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
                                1.4การใช้ยารับประทานหรือฉีด ที่มักมีความเชื่อผิดๆว่ายาฉีดดีกว่ายาที่รับประทาน ซึ่งยาฉีดอาจก่อให้เกิดอันตรายในกรณีแพ้ยา
                2.คุณลักษณ์ส่วนบุคคล มีรายละเอียดที่ต้องพิจารณา คือ
                                2.1รูปร่าง สัดส่วนของไขมันกับกล้ามเนื้อ มีผลต่อการใช้ยา
                                2.2 เพศ
                                2.3 ความรู้ความชำนาญ
                3.ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการใช้ยา
                                3.1 สถานการณ์ของการใช้ยา คือใช้ยาสภาวะอารมณ์ต่างๆ เช่น โกรธ วิตก กังวล  เป็นต้นุ
                                3.2 สิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เช่น บ้านในชุมชนแออัด หรือเพื่อนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เป็นต้น
                                3.3 อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน ข่าวสาร ศาสนา การอบรมเลี้ยงดู เป็นต้น

สรุป
ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับสารเสพติดถือเป็นปัญหาที่สำคัญระดับชาติ  เพราะได้ขยายมาสู่สถานศึกษามากขึ้นทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาหรือแม้แต่ในอุดมศึกษา ซึ่งเยาวชนล้วนเป็นอนาคตของชาติ หากเยาวชนของชาติตกเป็นทาสของยาเสพติดก็จะส่งผลกระทบทั้งต่อ ตนเอง ครอบครัว เพื่อน สังคม และประเทศชาติ แต่ก็มีสารเสพติดบางชนิดที่แพทย์นำมาร่วมใช้ในการรักษา บำบัดโรคบางชนิด   ดังนั้นนักเรียนทุกคนจึงควรหาความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสารเสพติด
อุบัติเหตุ
เมื่อนักเรียนเดินทางจากบ้านมาโรงเรียนและเดินทางจากโรงเรียนกลับบ้าน นักเรียนมีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุได้  ซึ่งเรียกว่าอุบัติเหตุจากการเดินทาง สำหรับอุบัติเหตุนอกบ้านนั้นมีหลายประเภท เช่น กีฬา  กิจกรรม เป็นต้น
1.พฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่
1.1 ว่ายน้ำ เป็นกีฬาเพื่อพักผ่อนหย่อนใจคลายเครียดได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถใช้ได้ในหลายสถานที่
พฤติกรรมเสี่ยงของกีฬาว่ายน้ำ คือ
1.ชอบเล่นน้ำตกหรือน้ำทะเล แม้จะว่ายน้ำไม่เป็นไม่ปฏิบัติตามกฎของสระว่ายน้ำ
2.ว่ายน้ำคนเดียว หรือ ในแหล่งหรือมุมลับที่คนอื่นมองไม่เห็น
3.ลงเล่นน้ำทะเล หรือว่ายน้ำออกห่างฝั่งมากเกินไป
1.2การวิ่งเพื่อสุขภาพ เป็นกีฬาที่วัยรุ่นนิยมกันมาก เพราะมีอุปกรณ์ที่สำคัญเพียงรองเท้าเท่านั้น
พฤติกรรมเสี่ยงจาการวิ่งเพื่อสุขภาพ
1.วิ่งบนถนนที่ไม่มีทางไหล่ทาง เช่น ถนน ที่มีการจราจรหนาแน่น
2.วิ่งไปในทิศทางเดียวกับรถ
3.ชอบวิ่งก่อนสว่างหรือเวลากลางคืน
สรุป
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และทุกสถานที่ โดยเฉพาะในวัยของนักเรียนนี้เป็นวัยที่ชอบทำกิจกรรม เช่น การเล่นกีฬา จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุค่อยข้างมาก อุบัติเหตุสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัย และ พฤติกรรมเสี่ยง ดังนั้น วัยรุ่นจึงควรมีความระมัดระวัง ไม่ประมาททั้งในบ้านและนอกบ้าน ควรมีความตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
แหล่งขอความช่วยเหลือ.. เมื่อเกิดสถานการณ์คับขัน
                สถานการณ์คับขันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นอุบัติเหตุและภัยที่ไม่คาดคิด ซึ่งเกิดจากเจตนากระทำ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการใช้ความรุนแรง และเกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต การเรียนรู้แหล่งขอความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเมื่อเกิดสถานการณ์คับขัน ย่อมเป็นประโยชน์ในการแก้ไขสถานการณ์คับขันที่เกิดขึ้นให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้
                การขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์คับขัน ควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
สถานการณ์คับขัน สถานการณ์เป็นอย่างไร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นอุบัติเหตุ และเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งเกิดโดยมีเจตนา ความรุนแรง ความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท
 แหล่งที่ควรขอความช่วยเหลือ บุคคลหรือองค์กรที่สามารถให้ความช่วยเหลือทางด้านข้อมูลข่าวสารและความคุ้มครองให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น
สถานที่ตั้ง สถานที่ที่ใกล้ที่สุด ที่สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาได้
เรื่องที่จะขอความช่วยเหลือ เรื่องที่จะขอความช่วยเหลือและขอคำปรึกษานั้นเป็นเรื่องอะไรเกี่ยวกับใคร และควรขอความช่วยเหลืออย่างไร
องค์กรหรือหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือ แนะนำข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษาและคุ้มครองต่อชีวิตให้เกิดความปลอดภัย มี่หลายหน่อยงาน ในบทนี้จะขอกล่าวเฉพาะบางหน่วยงาน ดั้งนี้
1.ศูนย์พิทักษ์เด็กและสตรี สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
   ศูนย์พิทักษ์เด็กและตรี เป็นศูนย์ประสานงานของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักแพทย์กรุงเทพมหานคร ซึ่งศูนย์นี้มีอยู่ในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง ๙ แห่ง สามารถติดต่อได้ที่หน่วยสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาล
   ศูนย์พิทักษ์เด็กและสตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กและสตรีที่มีปัญหาถูกทอดทิ้ง และทารุณกรรมโดยบิดามารดาตีเกินกว่าเหตุ ทำให้บาดเจ็บ หัวแตก มีเลือดออก รวมทั้งให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม และความรุนแรง
2.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย
  หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ศบภ. นทพ.) กระทรวงกลาโหม
  ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มีวัตถุประสงค์ในการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่ประสบธรรมชาติ หรือภัยพิบัติ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมีหน้าที่ ดังนี้
1.บรรเทาความเดือนร้อนให้ ประชาชนที่ประสบอุทกภัย
2.รับแจ้งข่าวสาร เมื่อเกิดภัยทกประเภท
3.รับการร้อง ขอการสนับสนุน รับบริจาค
4.เปิดศูนย์ประสาการสนับสนุนที่สามารถสั่งการแทนผู้บังคับบัญชา
   ในภาวะที่เกิดภัยพิบัติ ประชาชนสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากศูนย์บรรเทาสาธารณภัยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
                3.  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
   กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่อำนวยการ สั่งการ และกำกับดูแลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย และดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อเตือนภัย พร้อมทั้งรายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ มีหน่วยงานในสังกัด ดังต่อไปนี้

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย
  • สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย
  • สำนักส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย

4.  สถานีตำรวจ
   สถานีตำรวจเป็นหน่วยงานที่กระจายอยู่ในตำบล ทุกอำเภอ ทุกจังหวัด ซึ่งสามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนเมื่อเกิดสถานการณ์คับขันได้เป็นอย่างดี หน้าที่ของตำรวจมี ๔ ประการ คือ
1.รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอกเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน
2.รักษากฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดในทางอาญา
3.บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน
4.ดูแลรักษาประโยชน์สาธารณะ
1.มูลนิธิร่วมกตัญญูและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
มูลนิธิร่วมกตัญญูและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งมีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ มูลนิธิมีรถกู้ภัย พร้อมเจ้าหน้าที่กู้ภัยประจำรถที่ออกปฏิบัติตลอด ๒๔ ชั่วโมง เมื่อใดเกิดเหตุขึ้น ณ ที่ใดก็ตาม ไม่ว่าทางบกหรือทางน้ำ หลังจากได้รับแจ้งเหตุ มลนิธิทั้ง ๒ แห่งจะส่งเจ้าหน้าที่ไปยังที่เกิดเหตุทันที หากพบผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯจะเข้าทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามขั้นตอน
สรุป
     การได้เรียนรู้องค์กร หรือหน่วยงาน ซึ่งเป็นแหล่งขอความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเมื่อเกิดสถานการณ์คับขัน เพื่อจะได้ขอความช่วยเหลือได้ตรงตามสถานการณ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นๆได้อย่างเหมาะสม ทำให้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไดตรงจุด สามารถลดหรือบรรเทาปัญหา และได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว การรู้แหล่งขอความช่วยเหลือจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อตนเอง ซึ่งทำให้เราได้นำไปใช้เมื่อเกิดปัญหา หรือสถานการณ์คับขันกับตนเอง หรือสามารถ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ตามความเหมาะสม

กลับสู่ด้านบน


© copyright 2009 students.ptpk.ac.th