[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
 
 
 
เมนูหลัก
กลุ่มสาระการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

ลิงค์ที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> สอบถาม พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอน >>
การพัฒนาวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ด้วยเทคนิค STAD  VIEW : 1079    
โดย มณฑา ชูเสือหึง

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 1.47.103.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เวลา 23:17:19   

ชื่อผลงาน  การพัฒนาวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิค STAD  โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย  มณฑา  ชูเสือหึง  โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์  เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2560

บทคัดย่อ
             การพัฒนาวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน” เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา  (Research & Development)  โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพการจัดการเรียนการสอน  และการพัฒนาวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ด้วยเทคนิค STAD  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิคSTAD  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อศึกษาผลการใช้วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิค STAD  โดยใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  และ (4) เพื่อประเมินวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิค STAD  โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 35 คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  1) วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิค  STAD  โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน รวม 14 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์  2)  แบบประเมินวิธีสอนตามความคิดเห็นของครูและผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าที (t-test)  ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการ สรุปได้ดังนี้ 1) สภาพการจัดการเรียนการสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  1.1) ด้านครูผู้สอนเน้นการสอนแบบบรรยาย และถ่ายทอดความรู้ 1.2) ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้มีน้อยมากหรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการหรือสภาพปัญหา  1.3) ขาดการส่งเสริมทักษะกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และนักเรียนไม่กล้าแสดงออก  2) ลักษณะของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดตามหลักสูตร  2.1) อ่านออก เขียนได้  คิดคำนวณเป็น  2.2) การสื่อสารและแก้ปัญหาอย่างสมเหตุสมผล  2.3) การประสานความร่วมมือทำงานเป็นทีม 2.4) เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) การวัดและประเมินผลไม่หลากหลาย  4) ผลการประเมินการคิดวิเคราะห์โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ และ 5) ใช้วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิค STADโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน  เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์  ตามขั้นตอนของวิธีสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดของ  Slavin
2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนวิธีสอน 5 ขั้น คือ  1) กระตุ้นความสนใจ  2) สอนให้เข้าใจโดยครู  3) ร่วมเรียนรู้ฝึกทักษะ  4) มุมานะเสนองาน  5) สรุปถามประเมินผล  และมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 83.40/86.19
3. ผลการใช้วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน  เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  4. ผลการประเมินวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะโดยครูและผู้เชี่ยวชาญเรื่องโจทย์ปัญหาพาเพลิน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โดยรวมอยู่ระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.46 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า วิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  ด้วยเทคนิค STAD เกือบทุกข้ออยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 รองลงมาคือ รูปแบบการสอนมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดวิเคราะห์ในการชื่นชมและจัดแสดงผลงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ตามลำดับ