[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
 
 
 
เมนูหลัก
กลุ่มสาระการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

ลิงค์ที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> สอบถาม พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอน >>
การพัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้   VIEW : 1035    
โดย นางรัชกร ชีช้าง

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 40%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 1.46.173.xxx

 
เมื่อ : อาทิตย์ ที่ 25 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2562 เวลา 23:23:44   




ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี  เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                              
ผู้วิจัย นางรัชกร  ชีช้าง
ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง  สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย 2561

บทคัดย่อ

              การพัฒนารูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  (2) สร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ตามเกณฑ์ 80/80 (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  และ (4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1  โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ชุด หนูจะเป็นเด็กดี 3)  แบบทดสอบวัดทักษะในการแก้ปัญหา  และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.) และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1.  ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การคิดแก้ปัญหาต่ำกว่าเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนด  และปัญหาสำคัญที่สุดในการเรียนการสอนสังคมศึกษาคือปัญหาด้านทักษะในการแก้ปัญหาต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดคือ ร้อยละ 75 สาเหตุหนึ่งคือวิธีการสอนของครูสอนแบบบรรยายเคร่งเครียดถ่ายทอดความรู้  ไม่ใช้สื่อการสอนทำให้นักเรียนไม่สนใจเรียนและมีเจตคติที่ไม่ดีจึงไม่ชอบเรียนวิชาสังคมศึกษา  วัดผลไม่ตรงตามสภาพจริงใช้เพียงข้อสอบ  และผลจากการสำรวจพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบที่มีกิจกรรมอย่างหลากหลายน่าสนใจ เช่น เอกสารประกอบการเรียน  ซึ่งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความสนุกเพลิดเพลิน  กระตุ้นการเรียนรู้  ทั้งประเภทบทเพลง เกม นิทาน รูปภาพ  ใบความรู้  โครงงาน  หรือการแสดงบทบาทสมมติ  สรุปได้ว่าสภาพปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนสังคมศึกษา  ประกอบด้วย 1) ด้านผลสัมฤทธิ์  2) ด้านครูผู้สอน  3) ด้านสื่อการสอน  4) ด้านการจัดการเรียนรู้  และ5) ด้านการวัดและประเมินผล 
2.  ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์  80/80  ประกอบด้วยรูปแบบการสอน 5 ขั้นตอน  เรียกว่า “PGAPE  Model” ได้แก่  1) ขั้นสร้างแรงจูงใจ/ความตระหนัก (Persuade)  2) ขั้นกิจกรรมกลุ่ม  (Group Activity)  3) ขั้นวิเคราะห์ผลงานร่วมกัน (Analyzing Together ) 4) ขั้นนำเสนอผลงาน  (Presentation) และ 5) ขั้นสรุปและประเมินผล  (Evaluation) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่องครอบครัวสุขสันต์  เล่มที่ 2 เรื่องอันดาพอเพียง  เล่มที่ 3  เรื่องเวียงฟ้าพาขวัญ และเล่มที่ 4 เรื่องแบ่งปันตามบทบาท และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.25/83.56 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 
3.  ผลการใช้รูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า  คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.  ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยผู้เชี่ยวชาญ  พบว่า  มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก  (  = 4.48 , S.D.= 0.50)  และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด หนูจะเป็นเด็กดี เพื่อส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.51 , S.D.= 0.67)