[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
 
 
 
เมนูหลัก
กลุ่มสาระการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

ลิงค์ที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> สอบถาม พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอน >>
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้   VIEW : 1174    
โดย นางศศิรินทร์ ธารพระจันทร์

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 4
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 80%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 223.24.2.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 22 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2561 เวลา 19:18:39   

ชื่อเรื่อง      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง ธรรมชาติกับการเปลี่ยนแปลง  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                         
ผู้วิจัย         นางศศิรินทร์  ธารพระจันทร์  โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง                                เทศบาลนครนครศรีธรรมราช                      
ปีที่ศึกษา 2560

บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง ธรรมชาติกับการเปลี่ยนแปลง  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ก่อนและหลังใช้ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ 3) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  4) แผนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องธรรมชาติกับการเปลี่ยนแปลง  และ 5) แบบประเมินพฤติกรรม ของนักเรียนด้านความพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า
             1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดการเรียนการสอน  พบว่า  1) ครูสอนแบบบรรยายไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  2) นักเรียนขาดทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์  ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  3) สื่อ/แหล่งเรียนรู้นำมาใช้น้อยมากและไม่ตรงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น  4) นักเรียนไม่สนใจเรียน  5) นโยบายของเทศบาลและโรงเรียนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ  6) การพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มมีน้อยมาก  7) การพัฒนานักเรียนด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ขาดความจริงจัง  8) การประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์  ไม่มีวิธีการประเมินที่ชัดเจน  และผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบโดยครูและผู้เชี่ยวชาญ  พบว่า  1) ต้องการให้ครูผู้สอนได้พัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการหรือสภาพปัญหาของผู้เรียน 2) ครูควรใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดให้มาก  3) ควรมีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่าง ๆ สู่การนำไปใช้  4) ควรนำเทคนิคการสอนวิธีต่าง ๆ โดยใช้ Active  Learning  และ 5) ให้เน้นการทำงานแบบกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์สู่ทักษะการคิด
2. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ/กำหนดเป้าหมาย 2) ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 3) ขั้นเสนอความรู้ใหม่/บูรณาการ 4) ขั้นนำเสนอผลงาน  5) ขั้นประเมินผล/สรุปผล  และ 6) ขั้นนำไปประยุกต์ใช้
              3. ผลการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ก่อนและหลังใช้รูปแบบ  มีดังนี้
                 3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนใช้รูปแบบคิดเป็นร้อยละ 56.18 ผ่านเกณฑ์ระดับ 1 (พอใช้) และหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คิดเป็นร้อยละ 87.38 ผ่านเกณฑ์ระดับ 3 (ดี)  นั่นคือหลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ
                 3.2 พฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านความพอเพียง  ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.58 คิดเป็นร้อยละ 85.92 นั่นคือ ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 3 (ดีเยี่ยม)
              4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยผู้เชี่ยวชาญ  มีความพึงพอใจโดยรวม  อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29