[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
 
 
 
เมนูหลัก
กลุ่มสาระการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

ลิงค์ที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> สอบถาม พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอน >>
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ   VIEW : 1172    
โดย ชนิตา ปัญจนาพงศ์ชัย

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 40%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 1.1.158.xxx

 
เมื่อ : อาทิตย์ ที่ 9 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เวลา 07:53:53   

ชื่อเรื่อง       การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริม 
                    การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย       ชนิตา ปัญจนาพงศ์ชัย
ปีการศึกษา   2561

บทคัดย่อ

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจัดกิจกรรมด้วยชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อเปรียบเทียบการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง เทศบาลนครนครศรีธรรมราช  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) แบบสัมภาษณ์สำรวจข้อมูลพื้นฐานความต้องการในการจัดการเรียนรู้ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (2) แบบทดสอบวัดการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน จำนวน 30 ข้อ  (3) ชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด (4) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 17 ชั่วโมง และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานความต้องการจัดกิจกรรมด้วยชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  พบว่า สรุปได้ว่า ผลจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย  ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร  เพราะธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีความเป็นนามธรรมสูง  และที่สำคัญยิ่งคือการสอนของครูที่เป็นเพียงการบอกให้จดจำและเลียนแบบ  ให้ตัวอย่างโดยสอนแต่ไม่สอนให้นักเรียนได้ใช้ความสามารถในการเรียนรู้ และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตร  ทำให้นักเรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกใช้ความสามารถในการเรียนรู้ และการปฏิบัติที่มีแบบแผนตามหลักสูตร สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยง นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องความแตกต่างกันของผู้เรียน  ซึ่งบางคนเรียนรู้ได้เร็ว แต่บางคนต้องการอธิบายแนวทางรายละเอียด ชัดเจนและต้องการเวลาในการฝึกปฏิบัติ  โดยเฉพาะด้านผลสัมฤทธิ์การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน  มาจากสาเหตุหลายประการคือ 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด 2) ปัญหาเกิดจากตัวครูผู้สอนจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบบรรยายมากไม่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ครูใช้เทคนิคการสอนที่ไม่หลากหลาย  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ครูส่วนใหญ่ยังใช้เพียงข้อสอบฉบับเดียวแล้วตัดสินว่าดีหรือไม่ดีผ่านหรือไม่ผ่าน 3) สื่อการเรียนการสอนหรือแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนมีน้อยและไม่ตรงกับปัญหาหรือความต้องการของนักเรียน 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่เน้นการปฏิบัติจริงหรือการทำงานกลุ่มเพื่อให้เด็กได้ช่วยเหลือกัน เด็กเก่งได้ช่วยเหลือเด็กที่เรียนอ่อน สร้างความรักสามัคคีกันด้วยการร่วมมือกันทำงานหรือสร้างชิ้นงานร่วมกันเรียนรู้  ตามแนวคิด 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  ด้วยการนำชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของนักเรียนและโรงเรียน  ใช้ทักษะกระบวนการร่วมมือกันเรียนรู้  มีทักษะในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน  จนสามารถออกแบบสร้างชิ้นงานได้  เพราะการจัดการศึกษาสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีความต้องการจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้  เพราะการเรียนรู้เพียงเพื่อความรู้ ความจำ ความเข้าใจ  และการนำไปใช้ ไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในฐานะพลโลก  จำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องรู้วิธีการเรียนรู้  เพื่อให้มีความสามารถในการเรียนรู้  
           ความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนวิชาภาษาไทย  ตามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนด้านการใช้สื่อและปกครองชั้นเรียน  นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความคิดเห็น 2 อันดับแรก ครูมีสื่อประกอบการสอนที่หลากหลาย ค่าเฉลี่ย 4.90 ครูมีแบบทดสอบและเอกสารประกอบการสอน ค่าเฉลี่ย  4.80  และนักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด โดยความคิดเห็น 3 อันดับแรก  วิชาภาษไทยเป็นวิชาที่น่าสนใจและน่าเรียน  นักเรียนทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขในวิชาภาษาไทยค่าเฉลี่ย 4.90 ขณะที่เรียนภาษาไทยส่วนมากนักเรียนรู้สึกสนุกและไม่อยากให้หมดเวลาค่าเฉลี่ย  4.80
2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถสรุปขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ได้ 8 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นที่ 1 และ 2 ร่วมมือสร้างและวิเคราะห์ประสบการณ์  (2) ขั้นที่ 3 และ 4 สร้างหลักการพัฒนาความคิด  (3) ขั้นที่ 5 และ 6 ปฏิบัติและฝึกเพิ่มเติม (4) ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ผลและประยุกต์ใช้  และ (5) ขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น  โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนแบบ  4 MAT  ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ   มีประสิทธิภาพโดยรวม  /  เท่ากับ 84.58 / 85.47  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
  3. ผลการเปรียบเทียบการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน  ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  มีผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
   4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนแบบ 4 MAT ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เพื่อส่งเสริมการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.49)